allabout japan
allabout japan

7 วิธีเข้าสู่ลัทธิราเม็ง Jiro

7 วิธีเข้าสู่ลัทธิราเม็ง Jiro
blogs.c.yimg.jp

ราเม็งของร้าน Jiro นี่มีแฟนๆ ผู้คลั่งไคล้เยอะมากโดยเฉพาะหนุ่มๆ จนเหมือนกับเป็นลัทธิราเม็งเลยทีเดียว การจะกินนั้นจะมีโค้ดลับและพิธีกรรมมากมาย การรอคิวหน้าร้านก็ต้องไปยืนรอรวมกับหมู่สาวกที่เป็นชายฉกรรจ์ จึงมักจะรู้สึกถึงบรรยากาศตึงเครียดแบบแปลกๆ แบบชวนให้รู้สึกเขินสายตาคนเดินผ่านไปผ่านมานิดๆ แต่ถ้าใครได้ลิ้มลองแล้วรับรองได้ว่าจะถอนตัวออกมาได้ยาก

By ขนมโตเกียว

1. การต่อคิว

1. การต่อคิว

http://blogs.c.yimg.jp/res/blog-f0-ea/sannkiyamada/folder/356513/30/8837830/img_0

ร้านราเม็ง Jiro นั้นหาไม่ยาก มีหลายสาขาตามสถานีใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นบบ Shinkuku, Ikebukuro โดยสังเกตุป้ายเหลืองๆ และแถวยาวๆ ที่ส่วนใหญ่จะเป็นชายหนุ่ม เมื่อค้นพบแล้ว เราก็ต้องเริ่มต้นด้วยการสำรวจความยาวของคิวก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะกินหรือไม่ เช็คสภาพร่างกายของเราก่อนว่าพร้อมพอไหม และพึงระวีงไว้ว่าภายในร้านนั้นส่วนใหญ่จะไม่มีห้องน้ำ และห้ามสูบบุหรี่ ถ้าอยากสูบให้สูบตอนนี้เลย และมารยาทที่ดีก็คืออย่าสูบบุหรี่ในแถว เมื่อพร้อมทุกอย่างแล้วก็เชิญก้าวเข้าสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกับลัทธินี้ได้เลย

2. การซื้อตั๋ว

2. การซื้อตั๋ว

http://dromaster.com/wp-content/uploads/2016/03/%E3%82%B9%E3%82%AF%E3%83%AA%E3%83%BC%E3%83%B3%E3%82%B7%E3%83%A7%E3%83%83%E3%83%88-2016-03-31-16.42.35.png

ระหว่างที่รอคิว ถ้าเราเข้าใกล้ประตูแล้วเราจะสามารถมองเห็นเครื่องขายตั๋วอยู่ไม่ไกล ให้เล็งเอาไว้ได้เลยว่าจะสั่งอะไร โดยจะมีให้เลือกเฉพาะขนาดคือ 小 (เล็ก) หรือ 大 (ใหญ่) ถ้าเป็นมือใหม่ขอแนะนำชามเล็กก่อน เพราะใหญ่นี่จะมาในขนาดเทียบเท่าแกลลอน (ยังไม่รวมเครื่อง) บางทีพนักงานจะเดินมาตามแถวเพื่อถามขนาดของราเม็งที่จะสั่ง ด้วยคำถามที่ว่า "Nani? Nani?" หรือ "Oki-sa wa?" คุณสามารถตอบว่า "sho" (เล็ก) หรือ "dai" (ใหญ่) เพื่อที่พ่อครัวจะได้เตรียมการล่วงหน้าให้คุณได้

3. การเขยิบเข้ามารอในร้าน

3. การเขยิบเข้ามารอในร้าน

http://blogs.c.yimg.jp/res/blog-9f-01/ra57257/folder/178510/33/2931233/img_9?1301923526

อย่านึกว่าได้เข้าร้านแล้วจะได้กินเลย เพราะว่าในร้านก็ยังมีคิวอยู่ แต่อาจจะได้นั่ง โดยปกติในร้านจะมีเก้าอี้ให้นั่งรออีกประมาณ 2-3 ตัว นับว่าไม่นานเกินรอ

4. นั่งประจำที่

4. นั่งประจำที่

http://blog-imgs-55.fc2.com/t/e/t/tetsuramen/20141122_03.jpg

ถ้าเห็นว่าใครซักคนกินเสร็จ และถึงคิวของเราแล้วก็เขาไปเสียบแทนที่ได้เลย อย่าลืมว่าน้ำเปล่านั้นต้องบริการตัวเองด้วย ถ้ามากันหลายคน ขอแนะนำให้แยก ใครถึงคิวก่อนกินก่อนไปเลย อย่ารอที่นั่งติดกัน เมื่อนั่งแล้วก็วางตั๋วไว้บนเคาน์เตอร์ได้เลย

5. การสั่งเครื่อง (ตรงนี้สำคัญสุด!)

5. การสั่งเครื่อง (ตรงนี้สำคัญสุด!)

http://ameblo.jp/masio-takesi/theme-10062059476.html

การสั่งนั้นเป็นการขอเพิ่มเครื่องฟรีที่สาวกราเม็ง Jiro จะรู้โค้ดลับกันเป็นอย่างดี โดยเครื่องที่สามารถเพิ่มได้ฟรีนั้นได้แก่ ผัก (Yasai) กระเทียม (Ninniku) น้ำมัน(Abura) และความจัดของรสชาติซุป (Karame) โดยมีโค้ดลับว่า Mashi คือขอเพิ่ม และ Mashi-mashi คือ ขอเพิ่มเยอะๆ เช่น จะขอเพิ่มผัก ก็สั่งว่า Yasai Mashi หรือ Zen Mashi-mashi ถ้าอยากได้เพิ่มทุกอย่างเยอะๆ ถ้าอยากได้ไซส์ปกติก็พูดว่า Sonomama

6. การกิน

6. การกิน

http://buzz-plus.com/wp-content/uploads/2014/06/a111.jpg

คุณอาจจะตกใจเมื่อเห็นราเม็งอลังการของร้านนี้ เพราะปริมาณและหน้าตามันไม่ธรรมดาขนาดชายฉกรรจ์ยังต้องร้องไห้หาแม่ ขอเพียงจำไว้อย่างเดียวว่า อย่าฝืนถ้าคิดว่าทำไม่ได้ หายใจเข้าออกลึกๆ และกินไปเท่าที่พลังกายของคุณจะรับไหว ไม่มีใครหัวเราะเยาะคุณถ้ากินไม่หมด และไม่ได้เป็นการเสียศักดิ์ศรีใดๆ กลับกันพ่อครัวอาจจะเดินมาเตือนว่าอย่าฝืนยัดเข้าไป ถ้าเห็นท่าไม่ดี

7. จบสิ้นพิธี

7. จบสิ้นพิธี

http://stat.ameba.jp/user_images/20141215/11/joker53-so/ca/6a/j/o0800045013159425269.jpg

ขอแสดงความยินดีด้วย คุณได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกลัทธิราเม็ง Jiro อันแสนศักดิ์สิทธิ์แล้ว หลังจากที่กินเสร็จ เป็นมารยาทที่จะต้องเอาชามและแก้วน้ำวางบนเคาน์เตอร์ด้านบนให้คนเก็บได้ง่ายๆ และเอาผ้าเช็ดโต๊ะเช็ดเบาๆ หนึ่งที (ไม่ต้องตั้งใจเช็ดเกิน) และพูดว่า "gochisou sama deshita" เป็นการขอบคุณราเม็งมื้ออร่อยนี้

- www.ramentokyo.com (อังกฤษ)

ขนมโตเกียว

อยู่โตเกียวมาเป็นปีที่ 10 แล้ว วันธรรมดาทำงาน วันเสาร์อาทิตย์ผจญภัยรอบโตเกียว (และรอบๆ) :-)