All About Japan

รวม 5 สิ่งที่คนญี่ปุ่นจริงจังแต่คนไทยมักจะละเลย

รู้ลึกเรื่องญี่ปุ่น ชีวิตในญี่ปุ่น เที่ยวด้วยตัวเอง ทำงานในญี่ปุ่น Taste of Japan เลี้ยงลูกแบบญี่ปุ่น

3. วินัยและกฏเกณฑ์: 規律とルール

3. วินัยและกฏเกณฑ์: 規律とルール

https://pixta.jp/

วินัยและกฎเกณฑ์ 2 คำนี้ 2 ประเทศ เป็นเหมือนกัน แต่วัฒนธรรมในการใช้แตกต่างกันค่ะ

“วินัย” ดูเหมือนเป็นเรื่องผิวเผินที่ต้องปลูกฝังแต่เล็กจนโต เป็นมารยทพื้นฐานในสังคมที่สร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมและต่อตนเองด้วย ส่วน “กฏเกณฑ์” เป็นข้อบังคับที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่ออยู่ร่วมกันในสังคมใดสังคมหนึ่ง อาจจะเป็นสังคมการทำงาน รัฐบาล เป็นต้น

แล้วทำไมคนไทยกับคนญี่ปุ่นถึงได้มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันขนาดนี้ล่ะ?

อันนี้อธิบายได้ตั้งแต่สภาพภูมิประเทศของไทยที่ไม่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติใด ๆ เลยทำให้เราไม่ต้องตื่นตัวเตรียมตัว กระบวนการปลูกฝังวินัยแต่เด็กจึงน้อยกว่าประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีภูมิประเทศที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติตลอด ทั้งแผ่นดินไหว สึนามิ ฯลฯ

การเลี้ยงดูเด็กของไทยกับญี่ปุ่นไม่เหมือนกันเลย ของไทยบางบ้านก็สอนตื่นเช้าตั้งนาฬิกาปลุก พับผ้า บางบ้านปัจจุบันไม่สอนแล้วค่ะ พ่อแม่ช่วยลูกทำทุกอย่าง เดินมาปลุกลูกเอง แต่สำหรับบ้านญี่ปุ่นลูกต้องมีความอดทน รู้จักศึกษา เก็บข้อมูล เก็บกระเป๋า เก็บของเผื่อแผ่นดินไหวเอง นี่อาจเป็นสาเหตนึงที่ทำให้สังคมเคร่งเครียดถึงจนเวลาทำงานก็เป็นได้

3.1 การเข้างานตรงเวลาแบบวัฒนธรรมญี่ปุ่น

3.1 การเข้างานตรงเวลาแบบวัฒนธรรมญี่ปุ่น

https://pixta.jp/

ในที่นี้คือวิ่งตอกบัตรให้ทัน 10-15 นาทีก่อนเริ่มงานนะคะ สมมติว่างานเริ่ม 9:00 น. คุณต้องมาถึง 8:45 - 8:50 น. โดยประมาณ จึงจะไม่น่าเกลียด ไม่ดูสาย มาตรงเวลา มีวินัย เป็นพนักงานที่น่ารัก แต่ไม่มีค่า OT ให้นะคะ ทีนี้ ถ้าเรามาก่อนหน้านั้นล่ะ ก็ให้เดินหนีไปที่อื่นก่อนค่ะ เพราะการมาตอกบัตรก่อนเวลามันเป็นการเสียมารยาท บริษัทจะคิดว่าเขาใช้แรงงานคุณเกินไปไหมนะ ดูแลคุณไม่ดีหรอ แบบนี้ค่ะ

การที่คุณมาก่อน 30 นาที ห้ามมาเลยค่ะ! ซึ่งตรงข้ามกับบริษัทไทยที่ชอบเรียกให้มาก่อน 30 นาทีเพราะบางทีมีประชุมตอนเช้าบ้าง หรือแค่เรียกมาให้เห็นหน้าเห็นตาเฉย ๆ บ้าง ตามกฎหมายไทยมาล่วงหน้าก็ต้องมี OT แต่ก็มักจะโอฟรี เห็นไหมคะว่าคนญี่ปุ่นเค้าคิดเยอะจริง ๆ

4. ความปลอดภัยในการใช้ชีวิต: 生命の安全

4. ความปลอดภัยในการใช้ชีวิต: 生命の安全

https://pixta.jp/

จุดนี้อาจกล่าวได้ว่าคนไทยคุ้นชินสวัสดิการของรัฐที่มีให้ด้วยทำให้มีผลต่อการใช้ชีวิตแบบนี้ ส่วนคนญี่ปุ่นก็คุ้นชินกับสภาวะการใช้ชีวิตในอีกแบบนึง ความปลอดภัยในการใช้ชีวิตจึงแตกต่างกัน รวมถึงการแสดงออกแล้วก็ป้ายรณรงค์ก็แตกต่างกันค่ะ

ประเทศญี่ปุ่นเขาจะเปนห่วงอยู่ 2 เรื่องหลัก คือ "เด็ก" และ "ผู้หญิง" เนื่องจากเด็กมักจะถูกล่วงละเมิดทางเพศหรือลักพาตัว ส่วนผู้หญิงนั้นมักจะโดนภัยคุกคามตั้งแต่หน้าประตูห้องพัก กระทั่ง SNS หร่อช่องทางโซเชียลมีเดียของตัวเอง การออกเดท จึงทำให้ทางการมีการทำเอกสารรณรงค์ให้ระวังและป้องกันตนเองจากพวกไม่หวังดีและมิจฉาชีพที่จะเข้ามาหา

รวมถึงคุณสามารถโทรหาตำรวจ กด 110 โทรออก ป้อมที่ใกล้สุดจะมาหาคุณ ให้มาที่ห้องได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องมีพิธีรีตองให้มากความ กระตือรือร้น ไม่ต้องซักถามประวัติส่วนตัวเป็นหน้ากระดาษ A4 แป๊ปเดียว ตำรวจจะมาถึงหน้าห้องของคุณเพื่อช่วยเหลือคุณ ไวมากเลยค่ะ เหมือนหนังฝรั่งเลย เพราะเขาถูกปลูกฝังให้รักในอาชีพของเขาค่ะ

ต่างกับประเทศไทยที่แจ้งตำรวจก็สวดมนต์กันค่ะว่าจะมาไวหรือช้า โดยมากเป็นอย่างหลัง บางท่านถามเราด้วยว่าจะให้ทำอะไร แล้วเราจะเรียกตำรวจมาทำไมล่ะคะ? จริงไหม? ของเราคนที่บรรจุตำรวจมาอาจจะไม่ได้รักในอาชีพเท่าที่ควรซึ่งแน่นอนว่ามันมีผลต่อประสิทธิภาพของงาน

4.1 สิ่งของสาธารณะ ที่ออกแบบมาเพื่อสาธารณะอย่างแท้จริง

4.1 สิ่งของสาธารณะ ที่ออกแบบมาเพื่อสาธารณะอย่างแท้จริง

https://pixta.jp/

ในญี่ปุ่นจุดนี้เขาใส่ใจมากเลยค่ะ ของสิ่งนี้จะถูกออกแบบมาต้อง "ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเมื่อใช้งาน" เช่น รถไฟฟ้า ถนน เสาหลักกิโลเมตร ที่นั่งในสวนสาธารณะ ของเล่นในสวนสาธารณะ พิพิธภัณฑ์ ฯลฯ เป็นการเบิกงบมาสร้างทีเดียว

แล้วหลังจากนั้นก็ทะนุบำรุงอย่างเดียวซึ่งใช้งบน้อยมาก ต่างกับไทยที่เดี๋ยวทุบเดี๋ยวรื้อถนน เสาไฟ เราอาจจะใส่ใจแต่เราเลือกวัสดุกับวัตถุประสงค์ไม่ตรงกันหรือเปล่าอันนี้น่าคิดนะคะ ทำให้พอคนญี่ปุ่นมาไทยก็เจอพื้นระเบิดไปก็ขนลุกซู่...ส่วนคนไทยไปญี่ปุ่นเจอบ้านเมืองเป็นระเบียบและปลอดภัยจนมีคนนอนข้างทางได้ก็ตกใจกันไปค่ะ

อ่านบทความเต็ม: www.mext.go.jp (ภาษาญี่ปุ่น)

5. ปิดเสียงมือถือ ไม่คุยโทรศัพท์บนรถไฟ : マナーモードに設定のうえ、通話はご遠慮ください。

5. ปิดเสียงมือถือ ไม่คุยโทรศัพท์บนรถไฟ : マナーモードに設定のうえ、通話はご遠慮ください。

https://pixta.jp/

อันนี้ Culture Shock ที่แท้จริง เพราะเมื่อคนไทยไปเที่ยวญี่ปุ่นสิ่งแรกที่จะหยิบขึ้นมาตอนว่างก็คือมือถือหรือโทรศัพท์ค่ะ ทำให้คนญี่ปุ่นมองเราไร้มารยาทไปนิด ส่วนคนญี่ปุ่นเองพอมาไทยครั้งแรกก็ตกใจว่าทำไมประเทศนี้ติดมือถือจังนะ ขอกล่าวถึงข้อแตกต่างของที่ไทยก่อนแล้วกันค่ะ

บนรถไฟฟ้าไทย ห้ามเพียงแค่ถ่ายวิดีโอ แต่ไม่ได้ห้ามคุยโทรศัพท์มือถือ รวมถึงก็ไม่ได้บอกให้ปิดเสียงมือถือ แต่คนไทยรุ่นใหม่ก็มองว่ามันเป็นมารยาทพื้นฐานที่พึงมีว่าไม่ควรคุยโทรศัพท์หรือสมาร์ทโฟนบนรถไฟ เล่นได้ แต่ต้องไม่สร้างความรำคาญให้คนอื่น ใส่หูฟัง เปิดเบา ๆ

ส่วนเสียงเรียกเข้าก็โดยมากคนรุ่นใหม่ก็ไม่ค่อยตั้งกันแล้วค่ะ มักจะตั้งระบบสั่นเพราะติดถือมือถือไว้ที่มือ แต่ถ้าตั้งเสียงก็จะเป็นเสียงโมโนโทนเท่านั้นเอง ไม่ดังมากค่ะ หากสายเข้าช่วงเวลาเร่งด่วนตัวเบียดกันในขบวนก็มักจะรับสายแล้วบอก “เดี๋ยวโทรกลับนะ” แล้ววางกันไปแบบนี้ค่ะ

เรามาดูวัฒนธรรมญี่ปุ่นกันบ้างคนญี่ปุ่นมองว่าการตั้งเสียงมือถือเป็นสิ่งที่ไร้มารยาทแล้วก็รบกวนผู้โดยสารคนอื่นค่ะ ไม่มีใครอยากฟังด้วย ไม่สุภาพเลย ถึงขั้นมีป้ายติดประกาศไว้บนรถไฟเลยนะคะเพราะเป็นมารยาทและถือเป็นกฏบังคับใช้เลยค่ะ

รวมถึงเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวของเพื่อนร่วมทางคนอื่นด้วยค่ะ ซึ่งเราสามารถแก้ไขปัญหานี้ง่ายนิดเดียวด้วยการตั้งค่า Manner mode (マナーモード)ในโทรศัพท์มือถือที่ซื้อที่ญี่ปุ่นจะมีระบบนี้ค่ะ เท่านี้ก็เรียบร้อย ทุกรถไฟของญี่ปุ่นจะมีกฏเกี่ยวกับการปิดเสียมือถือขณะใช้บริการรถไฟอยู่เสมอเลยค่ะ

อ่านบทความเต็ม: www.jrhokkaido.co.jp (ภาษาญี่ปุ่น)

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับ 5 หัวข้อที่ Moonlight Yoku กลับมาเขียนในครั้งนี้ เห็นพ้องต้องกันหรือเห็นแย้งอย่างไรมาแชร์กันได้นะคะ ในประเทศญี่ปุ่นยังมีเรื่องราวทั้งวัฒนธรรม และสังคมที่น่าสนใจอีกมากมาย หากอยากรู้เรื่องราวสนุก ๆ แบบนี้อีก อย่าลืมติดตามเว็บไซต์ All About Japan และผลงานถัดไปของ Moonlight Yoku ด้วยนะคะ

ผู้เขียน: Moonlight Yoku
นักเขียนสกิลเป็ดเอกบริหารธุรกิจญี่ปุ่น ที่ตอนเด็กมีความฝันอยากไปเที่ยวญี่ปุ่นจนกระทั่งปัจจุบันเรียนเอกนี้เต็มตัว ชอบอาหารญี่ปุ่นมากๆ ฉะนั้นจะสนใจที่กินที่เที่ยวเป็นพิเศษ Hokkaido Lover❤️

  • 1
  • 2
  • 1
  • 2
  • 1
  • 2
know-before-you-go