allabout japan
allabout japan

การพาลูกเข้าอนุบาลที่ญี่ปุ่น ภาค 2 : เอกสาร และของใช้ในโรงเรียน

สวัสดีค่ะ บทความนี้เป็นบทความต่อจาก "การพาลูกเข้าอนุบาลที่ญี่ปุ่น จากประสบการณ์จริง" เขียนขึ้นจากประสบการณ์ที่แม่บ้านได้สัมผัสด้วยตนเอง ญี่ปุ่นมีการกระจายอำนาจทำให้มีการบริหารจัดการของแต่ละจังหวัดหรืออำเภอที่แตกต่างกัน ดังนั้นข้อมูลที่ผู้อ่านจะได้รับจากบทความนี้จึงเป็นอีกหนึ่งกลุ่มข้อมูลที่ทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงโรงเรียนอนุบาลในญี่ปุ่นได้ดีขึ้นค่ะ

By แม่บ้านเมกุโระ

3 ) ของใช้ในโรงเรียนที่เราต้องเตรียม 2/4

3 ) ของใช้ในโรงเรียนที่เราต้องเตรียม 2/4

3.4 ) รองเท้ากันฝน (園庭用靴)

3.4 ) รองเท้ากันฝน (園庭用靴)

รองเท้ากันฝนเป็นรองเท้าที่ให้เด็กใส่เล่นในสวนบริเวณของโรงเรียนค่ะ ที่ต้องเป็นรองเท้ากันฝนเพราะทำความสะอาดง่าย กันน้ำ เวลาเด็กเล่นบ่อทรายหรือเล่นน้ำจะได้ไม่เลอะมากค่ะ รองเท้ากันฝนนี้ครบ 1 เทอมทางโรงเรียนจะให้นำกลับมาทำความสะอาดครั้งนึงค่ะ

3.5 ) รองเท้าในห้องเรียน (上履き)

3.5 ) รองเท้าในห้องเรียน (上履き)

รองเท้าในห้องเรียนของญี่ปุ่นมักจะเป็นรองเท้าสีขาว ที่นิยมคือเป็นแถบยางยืดบนเท้าเพราะมีราคาถูก ส่วนตัวซื้อแบบแปะเทปตีนตุ๊กแกค่ะ เพราะดูลูกจะถนัดถอดใส่แบบนี้ได้ง่ายกว่า แนะนำให้ทำลวดลายบนรองเท้าและด้านหลังของรองเท้านะคะ เพราะเวลาลูกเอารองเท้าใส่ชั้นจะแยกไม่ค่อยออกว่าของใครเป็นของใครค่ะ อาจจะซื้อแพทช์รีดร้อนลวดลายที่ลูกชอบมารีดติดก็จะทำให้ลูกไม่สับสนหยิบรองเท้าของคนอื่นมาค่ะ

รองเท้าในห้องเรียนนี้ทางโรงเรียนจะให้กลับมาทำความสะอาดที่บ้านอาทิตย์ละ 1 ครั้งค่ะ ส่วนใหญ่จะคืนมาให้ในวันศุกร์ค่ะ

เนื่องจากรองเท้าเป็นสีขาว แม่บ้านเอากลับบ้านทีก็จะเป็นลม รองเท้าก็เยินมาก รองเท้าใส่ในห้องเรียนทำไมเลอะดินเลอะทรายขนาดนี้ล่ะลูก? งานนี้แม่บ้านขอแนะนำสบู่ก่อนสีเขียวซุปเปอร์ฮีโร่ของเรา น้อง Utamaro ウタマロ นั่นเอง! แม่บ้านชอบเอาน้องมาพอกรองเท้าไว้ก่อนซัก 30 – 60 นาที ถ้าใช้แปรงถูแล้วยังไม่ขาวก็พอกแล้วถู รองเท้าจากสีน้ำตาลเปลี่ยนเป็นสีขาวเหมือนใหม่เลยค่ะ หาซื้อได้ตามร้านร้อยเยนก็มีนะคะ

3.6 ) กระเป๋าใส่รองเท้าในห้องเรียน (上履き袋)

3.6 ) กระเป๋าใส่รองเท้าในห้องเรียน (上履き袋)

เป็นกระเป๋าที่สามารถทำได้หลายแบบ ที่ญี่ปุ่นนิยมทำด้านนึงของกระเป๋าเป็นหูจับแนวยาว ส่วนอีกข้างเย็บที่คล้องสำหรับคล้องสายอีกด้าน ตอนแรกแม่บ้านก็ไม่ชิน แต่พอใช้ไปนาน ๆ ก็เข้าใจค่ะว่าทำไมดีไซน์มันถึงออกมาเป็นแบบนี้ ก็สะดวกดีนะ หรือใครอยากทำแบบง่าย ๆ เป็นหูหิ้วทั้งสองข้างก็ทำได้ค่ะ แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคนเลย ทางโรงเรียนแนะนำให้ทำขนาดกระเป๋าให้พอดีกับรองเท้า ไม่แนะนำให้ทำแบบเผื่อขนาดไว้ เพราะรองเท้าอาจจะหลุดออกจากกระเป๋าได้โดยง่ายค่ะ

3.7 ) มาสก์สำรอง (予備マスク)

3.7 ) มาสก์สำรอง (予備マスク)

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส ทางโรงเรียนจึงต้องขอให้เตรียมหน้ากากสำรองใช้ในโรงเรียน โดยนำมาสก์ใส่ถุงซิปล็อคที่เขียนชื่อไว้ และใส่ในกระเป๋าใส่มาสก์อีกทีค่ะ

3.8 ) กระเป๋าใส่มาสก์ (マスク袋)

3.8 ) กระเป๋าใส่มาสก์ (マスク袋)

เป็นกระเป๋าหูรูดขนาดเล็ก มาสก์ที่ถูกใช้แล้วจะมีการคืนในกระเป๋าใส่มาสก์ค่ะ ส่วนมาสก์ที่ยังไม่ถูกใช้จะอยู่ในถุงซิปล็อค กระเป๋าใส่มาสก์เด็ก ๆ จะนำใส่กระเป๋านักเรียนกลับบ้านทุกวัน เพื่อที่ผู้ปกครองจะได้เช็คว่ามีการเปลี่ยนมาสก์ในโรงเรียนมั้ย? ทางโรงเรียนแนะนำให้สำรองไว้ 2 – 3 แผ่นตลอดค่ะ

3.9 ) ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (予備のおむつ) และถุงพลาสติก (ビニール袋)

3.9 ) ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (予備のおむつ) และถุงพลาสติก (ビニール袋)

สำหรับเด็กที่ยังไม่เลิกผ้าอ้อมสำเร็จรูปหรือไดเพิสก่อนเข้าโรงเรียนไม่ต้องกังวลไปนะคะ ถ้าลูกเรายังเลิกไม่ได้ให้แจ้งคุณครูให้ทราบค่ะ คุณครูจะช่วยฝีกให้เด็ก ๆ เลิกผ้าอ้อมสำเร็จรูปจนสำเร็จค่ะ อาจจะมีบางโรงเรียนที่แนะนำให้ฝึกเลิกผ้าอ้อมสำเร็จรูปก่อนที่จะเข้าโรงเรียน แต่เอาจริงเรื่องเลิกผ้าอ้อมนี่แม่บ้านคิดว่ามันเกี่ยวกับความพร้อมของร่างกายมากกว่าการฝึกค่ะ

แม่บ้านอยากบอกว่าไม่ต้องกังวลนะคะ เมื่อไหร่ที่ร่างกายของลูกพร้อม กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะของลูกสามารถกลั้นปัสสาวะได้ เขาก็จะเข้าห้องน้ำได้เองค่ะ อย่างลูกของแม่บ้าน วันนึงอยู่ ๆ ก็เข้าห้องน้ำได้เองเฉยเลยค่ะ ส่วนบ้านไหนที่ยังไม่พร้อม ยังใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปอยู่ ให้เตรียมถุงพลาสติกสำหรับใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่ใช้แล้วด้วยนะคะ

แม่บ้านเมกุโระ

แม่บ้านกราฟฟิกไทยส่งออกไปญี่ปุ่น