All About Japan

แนะนำ 5 กีฬาที่น่าไปชมถึงขอบสนามในญี่ปุ่น

กีฬา
แนะนำ 5 กีฬาที่น่าไปชมถึงขอบสนามในญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นไม่ได้มีเพียงแค่สถานที่ท่องเที่ยวอย่างวัด ศาล เจ้าหรือธรรมชาติต่างๆ เท่านั้น กิจกรรมที่น่าสนใจเมื่อไปเที่ยวญี่ปุ่นก็มีหลากหลาย โดยเฉพาะใครที่ชื่นชอบกีฬาหากพูดถึงกีฬา ที่ญี่ปุ่นก็นิยมไปชมกีฬาในสนามกันมากและส่วนใหญ่ก็มีการแข่งขันให้เข้าชมเกือบตลอดทั้งปี เช่น กีฬาศิลปะการต่อสู้อย่างซูโม่ กีฬาสากลอย่างฟุตบอล อย่างเช่นข้อมูลที่นำมาฝากต่อไปนี้

※หมายเหตุ บทความนี้เริ่มเผยแพร่ในช่วงวิกฤติโคโรน่าไวรัสสายพันธ์ุใหม่ (COVID-19) ในปี 2020 ไม่ว่าจะอ่านบทความนี้เมื่อไหร่ก็ตาม ผู้ที่ต้องการไปเที่ยวควรพิจารณาด้วยตัวเองหากสถานการณ์ยังไม่กลับสู่สถานะปกติ※

1. เบสบอล (Baseball)

1. เบสบอล (Baseball)

https://pixta.jp/

เบสบอล (Baseball) เป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในญี่ปุ่น โดยมีทัวร์นาเมนท์การแข่งขันอย่างจริงจังให้ได้ชมเกือบตลอดทั้งปี นอกจากทีมระดับลีกอาชีพแล้ว ก็ยังมีการแข่งขันชิงแชมป์มัธยมปลายระดับประเทศที่สนามกีฬาโคชิเอ็ง (Koshien) ซึ่งแม้จะเป็นการแข่งของนักเรียน แต่ก็ได้รับความสนใจมากเช่นกัน เสน่ห์ของกีฬาเบสบอลคือการมีส่วนร่วมในการเข้าไปชมและเชียร์ในสนาม ซึ่งจะได้พบกับบรรยากาศการร้องรำทำเพลงของแฟนๆ การใช้อุปกรณ์เชียร์อย่างกระบองลม การได้ลุ้นได้เชียร์ได้เอาใจช่วยผู้เล่นที่มีความสามารถเฉพาะตัวอันโดดเด่น และยังสามารถอิ่มอร่อยกับอาหารและเครื่องดื่มประจำสนามนั้นๆ ขณะพักเบรกจากการเชียร์ได้ด้วย

สนามชมเบสบอลที่แนะนำ : โตเกียวโดม (Tokyo Dome), โตเกียว (Tokyo)

สนามชมเบสบอลที่แนะนำ : โตเกียวโดม (Tokyo Dome), โตเกียว (Tokyo)

https://pixta.jp/

โตเกียวโดม (Tokyo Dome) เป็นสนามกีฬาในร่มที่ใช้จัดการแข่งขันกีฬาและกิจกรรมความบันเทิงหลายอย่างมีความจุได้ราวๆ 55,000 ที่นั่ง มีสมญานามว่า ไข่ใบยักษ์ (Big Egg) สำหรับกีฬาเบสบอล ที่นี่เป็นสนามเหย้าของทีมโยมิอุริไจแอนท์ (Yomiuri Giants) หนึ่งในทีมเบสบอลที่เล่นในลีกอาชีพของญี่ปุ่น

นอกจากนี้ในพื้นที่โตเกียวโดมก็มีเครื่องเล่นต่างๆ สวนสนุก ร้านค้า ร้านอาหารอย่างครบครัน หากสนใจซื้อตั๋วเข้าชมเบสบอล นักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถซื้อผ่านเว็บไซต์ออนไลน์หรือจะไปซื้อที่ร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นเมื่อเดินทางไปที่นั่นก็ได้ ราคาเริ่มต้นจะอยู่ที่ประมาณ 1,000-3,000 เยน

เวลาทำการ : 10.00-21.00 น. (หมายเหตุ เวลาทำการข้างต้นเป็นเวลาในปีปกติ หลังจากปี 2020 อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้เนื่องจากอิทธิพลของ COVID-19)

การเดินทาง : ขึ้นรถไฟสาย JR Chuo-Sobu Lineไปลงสถานีซุยโดบาชิ (Suidobashi Station)

2. ซูโม่ (Sumo)

2. ซูโม่ (Sumo)

https://pixta.jp/

ซูโม่ (Sumo) เป็นกีฬาประจำชาติญี่ปุ่นที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานและมีรูปแบบการแข่งขันคล้ายมวยปล้ำ แต่สิ่งที่แตกต่างคือ ผู้เล่นซูโม่จะนุ่งเพียงผ้าพันกายท่อนล่างผืนเดียว และส่วนใหญ่มีร่างกายใหญ่โตและน้ำหนักไม่น้อยกว่า 75 กิโลกรัม เมื่อขึ้นไปบนเวทีทั้งสองฝ่ายก็จะพุ่งเข้าปะทะคู่ต่อสู้ด้วยพละกำลังมหาศาลและมีท่วงท่าสง่างามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

บนเวทีซูโม่นอกจากจะมีการต่อสู้อันดุเดือด ก็ยังมีประเพณีเก่าแก่เกี่ยวกับการแข่งขันที่สำคัญ เช่นการโปรยเกลือบนพื้นในกรอบวงกลมเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ และตั้งแต่อดีตจนถึงทุกกวันนี้การแข่งขันซูโม่อาชีพก็ยังคงได้รับความนิยมในการเข้าร่วมชมสูงมากในช่วงเวลาการแข่งขันของแต่ละปี ซึ่งกีฬาซูโม่จะจัดการแข่งขันครั้งสำคัญครั้งละ 15 วัน ในเดือนมกราคม มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม กันยายน และพฤศจิกายน

สนามชมซูโม่ที่แนะนำ : สนามกีฬาแห่งชาติเรียวโกคุ (Ryogoku Kokugikan), โตเกียว (Tokyo)

สนามชมซูโม่ที่แนะนำ : สนามกีฬาแห่งชาติเรียวโกคุ (Ryogoku Kokugikan), โตเกียว (Tokyo)

https://pixta.jp/

สนามกีฬาแห่งชาติเรียวโกคุ (Ryogoku Kokugikan) ในกรุงโตเกียว เป็นสนามแข่งขันซูโม่อาชีพที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นและเป็นที่แรกที่เราแนะนำ สามารถรับผู้ชมได้ประมาณ 10,000 คน และได้ชื่อว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของกีฬาซูโม่ ที่เรียวโกคุโดยปกติแล้วจะเป็นสถานที่จัดการแข่งขันซูโม่รายการใหญ่ในเดือนมกราคม พฤษภาคม และกันยายนของทุกปีอีกด้วย

ภายในสนามไม่ได้มีเพียงสถานที่จัดการแข่งขันซูโม่เท่านั้นแต่ยังประกอบไปด้วย พิพิธภัณฑ์ซูโม่ที่จัดแสดงประวัติความเป็นมาและเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับซูโม่ ร้านขายสินค้าที่ระลึกต่างๆ และที่พลาดไม่ได้คือร้านจังโกะนาเบะ (Chanko-nabe) หรือหม้อไฟซูโม่ที่มีอยู่มากมายใกล้ๆย่านนี้ ถ้ามีโอกาสไปเยือนแล้วก็ต้องลองชิมอาหารหลักของเหล่านักกีฬาซูโม่กันสักมื้อ
เว็บไซต์สำหรับจองบัตรอย่างเป็นทางการ (บัตรเข้าชมมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ราว 3,800 เยนขึ้นไป)

เวลาทำการ :
ส่วนของพิพิธภัณฑ์ 10.00-16.30 น. (หมายเหตุ เวลาทำการข้างต้นเป็นเวลาในปีปกติ หลังจากปี 2020 อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้เนื่องจากอิทธิพลของ COVID-19)
ส่วนของสนามแข่งจะเปิดเมื่อมีตารางการแข่งขัน

การเดินทาง : ขึ้นรถไฟสาย JR Chuo-Sobu Lineไปลงสถานีเรียกโกคุ (Ryogoku Station) และเดินอีก 2 นาที

3. รถแข่งฟอร์มูล่าวัน หรือรถสูตรหนึ่ง (Formula One)

3. รถแข่งฟอร์มูล่าวัน หรือรถสูตรหนึ่ง (Formula One)

https://pixta.jp/

การแข่งขันฟอร์มูล่าวันหรือ F1 (รถสูตรหนึ่ง) ในญี่ปุ่นก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีสนามแข่งขันของรายการใหญ่ที่สุดในโลกรายการนี้ โดยเรียกว่าแจแปน กรังด์ปรีซ์ (Japan Grand Prix) ซึ่งชาวญี่ปุ่นเองก็นิยมชมการแข่งขันประลองความเร็วของรถสูตร 1 กันอยู่ไม่น้อย รวมถึงผู้ชมชาวต่างชาติที่เดินทางไปร่วมชมการแข่งขันทัวร์นาเมนท์ที่จัดขึ้นในญี่ปุ่นก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน เพราะนอกจากได้ลุ้นได้เชียร์นักแข่งประลองความเร็วในสนามแล้วสมรรถนะของรถแข่งของแต่ละทีมก็ได้รับความสนใจมากด้วย สำหรับรายการ Japan Grand Prix ถือเป็นรายการแข่งรถ F1 เก่าแก่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963 จนถึงทุกวันนี้ ซึ่งมีนักแข่งดังในอดีตและปัจจุบันจากทั่วโลก ที่เคยมาโชว์ฝีมือ และคว้าแชมป์รายการนี้ที่ญี่ปุ่น อาทิ มิชาเอล ชูมัคเคอร์ (Michael Schumacher) ชาวเยอรมัน, ลูอิส แฮมิลตัน (Lewis Hamilton) ชาวอังกฤษ

สนามแข่งรถสูตรหนึ่งฟอร์มูล่าวัน ที่แนะนำ : ซุซุกะเซอร์กิต (Suzuka Circuit), จังหวัดมิเอะ (Mie)

สนามแข่งรถสูตรหนึ่งฟอร์มูล่าวัน ที่แนะนำ :  ซุซุกะเซอร์กิต (Suzuka Circuit), จังหวัดมิเอะ (Mie)

ซุซุกะเซอร์กิต (Suzuka Circuit) คือสนามแข่งขันรถสูตรหนึ่งรายการ F1 Japan Grand Prix ในปัจจุบันที่ตั้งอยู่ในจังหวัดมิเอะ (Mie) เป็นสนามแข่งรถที่ได้มาตรฐานโลก มีคอร์สแข่งรถทุกระดับความเร็วรวมถึงสนามแข่งรถหมายเลข 8 ที่มีชื่อเสียงเรื่องระดับความยาก

นอกจากจะเป็นสนามแข่งขันฟอร์มูล่าวันมาตรฐานระดับโลกที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีแล้ว ในเวลาที่ไม่มีแข่ง ที่สนามแห่งนี้ก็ยังเป็นเหมือนสวนสนุกขนาดใหญ่ มีพื้นที่กิจกรรมสันทนาการและสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันเหมาะกับการมาเที่ยวพักผ่อนอย่างเพลิดเพลินสำหรับทุกเพศทุกวัย อาทิ Circuit Challenger ที่ทุกคนสามารถทดลองขับรถแข่งบนสนามแข่ง F1 ได้ สามารถลองขับรถแข่งจำลองกับเครื่องเล่น Duel GP หรือเครื่องเล่นที่ไม่ใช่แข่งรถก็มี เช่นรถไฟเหาะทรงขอนไม้ (Rocky Coaster) ตลอดจนบริการที่พักและออนเซ็นให้ผ่อนคลายกันด้วย

ค่าเข้าสนาม :
ผู้ใหญ่ 1,700 เยน
เด็กประถม 800 เยน
เด็กเล็ก (3ปีขึ้นไป) 600 เยน

ตั๋วค่าเข้ารวมเครื่องเล่นไม่จำกัด (MOTOPIA Passport):
ผู้ใหญ่ 4,300เยน
เด็กประถม 3,300เยน
เด็กเล็ก (3ปีขึ้นไป) 2,100เยน

เวลาทำการ : 10.00-17.00 น. (หมายเหตุ เวลาทำการข้างต้นเป็นเวลาในปีปกติ หลังจากปี 2020 อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้เนื่องจากอิทธิพลของ COVID-19)

การเดินทาง : ขึ้นรถไฟสาย Kintetsu Nagoya Line ไปลงสถานีชิโรโคะ (Shiroko Station) ต่อรถบัส Mie Kotsu ไปลงที่ป้าย Suzuka Circuit ใช้เวลาประมาณ 20 นาที

4. ฟุตบอล (Football)

4. ฟุตบอล (Football)

https://pixta.jp/

ฟุตบอล (Football) อีกหนึ่งกีฬาสากลที่ได้รับความนิยมมากในญี่ปุ่นมายาวนานและทีมชาติ แม้เดี๋ยวนี้ไทยลีกจะก้าวหน้าและสามารถไปชมได้ไม่ยาก แต่ใครที่อยากลองดูลีกระดับโลกโดยไม่ต้องไปใกล้ถึงยุโรป ญี่ปุ่นน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง เพราะลีกญี่ปุ่นปัจจุบันก็ถือเป็นลีกชั้นนำในเอเชีย อีกทั้งีทมชาติญี่ปุ่นก็ยังได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลก (FIFA World Cup) อย่างสม่ำเสมอโดยมีสมญานามว่าซามูไรบลู (Samurai Blue) อีกทั้งยังมีผู้เล่นฟุตบอลระดับอาชีพในญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยที่ไปค้าแข้งในสโมสรชั้นนำระดับโลกของลีกในยุโรป เช่น ชินจิ คางาวะ (Shinji Kagawa) ที่เคยค้าแข้งอยู่กับโบรุสเซีย ดอร์ทมุนในบุนเดสลีก้า เยอรมันและทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ในพรีเมียร์ลีก อังกฤษ

การแข่งขันลีกสูงสุดในญี่ปุ่นคือเจลีก 1 (J-League) ลีกคุณภาพที่ยกระดับนักเตะให้สามารถไปแข่งขันในยุโรปได้หลายคน แน่นอนว่าได้รับความนิยมจากแฟนบอลในประเทศญี่ปุ่นที่เข้าไปชมในสนามทุกแมตช์การแข่งขันอย่างคึกคักไม่แพ้กีฬาประเภทอื่นเลย

สนามชมฟุตบอลที่แนะนำ : สนามฟุตบอลไอเอไอนิฮงไดระ (IAI Nihondaira Stadium), จังหวัดชิซุโอกะ (Shizuoka)

สนามชมฟุตบอลที่แนะนำ : สนามฟุตบอลไอเอไอนิฮงไดระ (IAI Nihondaira Stadium), จังหวัดชิซุโอกะ (Shizuoka)

https://pixta.jp/

แน่นอนว่า ถ้ามีทีมที่เชียร์อยู่ก็ไปเชียร์ทีมที่ตนชอบได้ แต่ถ้าไม่มี หรือแค่อยากไปสัมผัสบรรยากาศในสนามญี่ปุ่นเฉยๆ ก็ขอแนะนำ ไอเอไอนิฮงไดระ (IAI Nihondaira Stadium) ในจังหวัดชิซุโอกะ (Shizuoka) ที่เป็นสนามเหย้าของทีมฟุตบอลชิมิซุ เอส-พัลส์ (Shimizu S-Pulse) สนามใหญ่ที่สามารถจุผู้ชมได้สูงสุด 20,248 ที่นั่ง

ที่นี่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสนามฟุตบอลที่มีทัศนียภาพงดงามที่สุดในญี่ปุ่น เพราะสามารถชมวิวภูเขาไฟฟูจิจากสนามได้อย่างชัดเจน รวมถึงใกล้กันก็มีวิวไร่ชาบนภูเขานิฮงไดระ (Mt.Nihondaira) และอ่าวซุรุกะ (Suruga Bay) ด้วย นอกจากนี้ในเมืองชิมิซุ (Shimizu) ซึ่งเป็นที่ตั้งของสนามก็ยังมีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจหลายแห่ง เช่น สวนซากุระนิฮงไดระ (Nihondaira Sakura Park) จุดชมวิวซากุระในฤดูใบไม้ผลิที่งดงามมากแห่งหนึ่ง หรือไปล่องเรือชมวิวที่ท่าเรือชิมิซุ (Shimizu Port) เป็นต้น

เวลาทำการ : เปิดทำการเมื่อมีตารางการแข่งขัน

ค่าเข้าชม : สามารถจองตั๋วออนไลน์ได้ที่นี่ โดยจะมีราคาตั้งแต่ราวๆ 3,600 เยนขึ้นไป

การเดินทาง : ขึ้นรถไฟสาย Tokaido Line ไปลงสถานีชิมิซุ (Shimizu Station) ต่อรถบัส Shizuoka Tetsudo ไปลงที่ป้ายสนามกีฬานิฮงไดระ (Nihondaira Stadium)

5. ยิงธนู (Kyudo)

5. ยิงธนู (Kyudo)

https://pixta.jp/

กีฬายิงธนูของญี่ปุ่นหรือ คิวโด (Kyudo) จะมีความแตกต่างจากยิงธนูสากล (Archery) ตรงที่คิวโดถูกนิยามว่าเป็นศิลปะการต่อสู้ที่สงบและสง่างาม กติกาและขั้นตอนต่างๆ ก็มีรายละเอียดที่ต่างกันชัดเจน สำหรับคิวโดถือว่าเป็นศาสตร์ของการต่อสู้ด้วยอาวุธที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมความเป็นญี่ปุ่นอย่างลึกซึ้งในหลายๆ แง่มุม อาทิ เครื่องแต่งกายของนักคิวโดที่มีระเบียบพิธีการของชุดที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งในภาพรวมจะเป็นชุดสีขาวดำแบบญี่ปุ่นที่มีมาแต่โบราณ ให้ความรู้สึกสง่างามน่าเกรงขาม ส่วนอุปกรณ์อย่างคันธนูคิวโดและลูกธนูแต่เดิมจะทำจากวัสดุไม้อย่างประณีตและมีราคาแพง แต่ปัจจุบันก็มีการนำเทคโนโลยีกับวัสดุอื่นๆ มาใช้ร่วมด้วย ปัจจุบันคิวโดก็ยังเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมของชาวญี่ปุ่น ตั้งแต่ระดับเยาวชนที่มีกิจกรรมชมรมคิวโดในโรงเรียน จนถึงระดับผู้เล่นคิวโดอาชีพที่มีการแข่งขันรายการใหญ่ๆ ในประเทศอยู่เสมอ

สนามชมกีฬายิงธนูที่แนะนำ : มิยาโกะเมสเส (Miyakomesse), จังหวัดเกียวโต (Kyoto)

สนามชมกีฬายิงธนูที่แนะนำ : มิยาโกะเมสเส (Miyakomesse), จังหวัดเกียวโต (Kyoto)

https://pixta.jp/

การแข่งขันยิงธนูนั้นหาชมได้ยากเล็กน้อย แต่ที่ มิยาโกะเมสเส (Miyakomesse) หรือ Kyoto Exhibition Hall หอประชุมที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายของชาวเมือง และยังเป็นสนามแข่งขันกีฬายิงธนูคิวโดในร่ม โดยมักจะถูกใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬายิงธนูคิวโดในระดับประเทศ นอกจากนี้ภายในมิยาโกะเมสเสก็ยังประกอบไปด้วยพิพิธภัณฑ์งานศิลปะจากเซรามิก ผ้าไหมและงานฝีมือพื้นเมือง (Kyoto Museum of Traditional Crafts) รวมทั้งแกลอรี่งานศิลปะสำหรับผู้ที่สนใจด้วย สถานที่ท่องเที่ยวบริเวณใกล้ๆ ก็มีทั้งศาลเจ้าเฮอัน (Heian Shrine), วัดนันเซ็นจิ (Nanzenji), สวนมุรินอัน (Murin-an) เป็นต้น

เวลาทำการ : 09.00-17.00 น. (หมายเหตุ เวลาทำการข้างต้นเป็นเวลาในปีปกติ หลังจากปี 2020 อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้เนื่องจากอิทธิพลของ COVID-19)

ค่าเข้าชม : ขึ้นอยู่กับแต่ละรายการแข่งขัน

การเดินทาง : ขึ้นรถไฟใต้ดินสาย Tozai Line ไปลงสถานีฮิกาชิยามะ (Higashiyama station) แล้วเดินอีกประมาณ 8 นาที

know-before-you-go