All About Japan

ประสบการณ์ทำงานจริงที่ Black company ในญี่ปุ่น

ชีวิตในญี่ปุ่น ทำงานในญี่ปุ่น
ประสบการณ์ทำงานจริงที่ Black company ในญี่ปุ่น

จากปากสาวไทยผู้เคยทำงานในบริษัทที่จัดว่าเป็น Black มาแล้ว

Black Company บริษัทสีดำ คืออะไร?

Black company (ブラック企業) คือบริษัทที่ใช้งานลูกน้องเเบบเกินที่กฏหมายกำหนด / มีกฏเข้มงวดเกินเหตุ / อาจมีการทำร้ายร่างกาย / ละลาบละล้วงทางวาจา / หรือลวนลามทางเพศ เป็นต้น

สรุปสั้นๆที่สุดก็คือบริษัทที่ทำผิดกฏหมายแรงงานในด้านที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของลูกจ้างโดยตรงทั้งร่างกายและจิตใจ อย่างเช่นที่เราได้ยินกันบ่อยๆก็คือการให้ทำงานเกินชั่วโมงที่กฏหมายกำหนดเป็นต้น แต่ที่จริงแล้วยังมีเหตุผลมากมายกว่านั้น

ส่วนใหญ่บริษัทสีดำนั้นมักจะมีหลายสายงาน แต่โดยส่วนใหญ่จะเป็นสายงานที่ทั้งคนไทยญี่ปุ่นเห็นตรงกันว่าเป็นสายที่ทำงานหนักและล่วงเวลาเยอะเช่นสายงานพวกสื่อ ดิจิตัลมีเดีย เอนเตอร์เทนเม้นท์ โฆษณา ครีเอทีฟ โรงงาน ร้านค้าปลีก เป็นต้นค่ะ แต่แน่นอนว่าสายงานอื่นก็มี ทั้งนี้แน่นอนว่าขึ้นอยู่กับผู้บริหารของแต่ละที่และระบบของบริษัทว่าจะดีหรือไม่ดีอย่างไร ถ้าเเจ็คพ็อตเจอคนไม่ดีเจอบริษัทสีดำก็ซวยไปค่ะ (อย่างเช่นผู้เขียนเอ๊งงงง)

ถ้าทำงานที่บริษัทสีดำจะต้องเจออะไรบ้าง วันนี้ผู้เขียนจะมาเล่าให้ฟังค่ะ
*หมายเหตุ สิ่งที่ผู้เขียนจะเขียนดังต่อไปนี้ มีทั้งประสบการณ์ของผู้เขียนโดยตรงเเละประสบการณ์ของคนรอบตัวชาวญี่ปุ่น จะเขียนโดยไม่เจาะจงหรือระบุชื่อบริษัท

1. เวลาเข้าทำงาน เลิกงานสุดโหด และวันหยุดที่น้อยยิ่งกว่าบริษัทญี่ปุ่นที่อื่น

1. เวลาเข้าทำงาน เลิกงานสุดโหด และวันหยุดที่น้อยยิ่งกว่าบริษัทญี่ปุ่นที่อื่น

https://pixta.jp/

ผู้อ่านทุกท่านคงทราบถึงวัฒนธรรมการทำงานของญี่ปุ่นเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องเวลาการทำงานกันบ้าง นั่นก็คือ "การตรงต่อเวลา" เเต่ถ้าคิดว่าทำเเค่นั้นเเล้วจะถูกชมล่ะก็ขอบอกเลยว่าผิดมหันต์จ้า จริงๆเเล้วมารยาทที่ดีของการทำงานที่ญี่ปุ่นต้องมาเข้าง่านก่อนเวลา ถ้าเข้างานตอน 7.00 ก็ควรมา 6.50 อันนี้ยังฟังดูปกติใช่ไหม เเต่ถ้าเป็นบริษัทดำก็มีบ้างที่ต้องมาล่วงหน้าเพื่อทำงานยิบย่อยก่อนที่จะเริ่มงานจริงด้วยค่ะ (โดยเฉพาะสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ของตัวเอง) เช่นชงกาแฟ กลับกันถ้าเป็นบริษัทที่ไม่ดำก็อาจจะมีคนทำหน้าที่อย่างนี้แน่นอนอยู่แล้วเช่นแม่บ้าน โดยไม่ต้องลำบากให้คนตำแหน่งอื่นมาทำ

อย่างการมาสาย ปกติถ้าหากมาสายก็จะโดนดุว่าไปตามระเบียบ เเต่ถ้าเป็นบริษัทสีดำก็อาจจะไม่จบแค่นั้น เพียงเเค่ทำผิดนิดเดียวอย่างมาสาย บางคนก็อาจถูกเจ้านายเรียกไปด่า ถึงขั้นทำร้ายร่างกายและจิตใจก็มีค่ะ

ถึงเเม้ว่าจะมาเริ่มงานก่อนเวลาไม่ว่าจะเร็วหรือช้าเพียงใด เเต่บริษัทสีดำนั้นไม่มีทางเลิกตรงเวลาค่ะ โดยมักจะมีหลากหลายเหตุผลที่เเตกต่างกันออกไปเช่น
- เจ้านายยังไม่กลับ กลับไม่ได้
- กลับก่อนรุ่นพี่ไม่ได้
- ต้องทำงานเเทนคนอื่นให้เสร็จ
- มีกินเลี้ยง ไปปาร์ตี้ต้องไปกับลูกค้า หรือกับเจ้านาย (ไม่ได้ค่าทำงานล่วงเวลา เเต่จะไม่ไปก็ไม่ได้)
- ถูกบังคับให้ทำงานให้เสร็จ (เเต่ไม่จ่ายล่วงเวลาให้)
เป็นต้นค่ะ

ของทางผู้เขียนเองที่เจอมา ส่วนใหญ่จะเป็นให้ไปทำงาน ซึ่งมีกำหนดเลิก 4 ทุ่มกว่า กว่าจะเสร็จทุกอย่างเเล้วก็ปาไป 5 ทุ่ม เป็นเเบบนี้หลายอาทิตย์ติดกันเเต่เขาไม่ให้ค่าล่วงเวลา เเต่บอกว่าจะจ่ายให้เป็นโบนัสเเทนค่ะ (ซึ่งไม่จริง อย่าไปเชื่ออออ) ผู้เขียนเคยต่อรองเเล้วเเต่ก็ไม่เป็นผลค่ะ เพราะคนอื่นในบริษัทหลายคนก็ทำงานกันหามรุ่งหามค่ำ หนักกว่าเราก็มีแต่ไม่มีใครได้ค่าล่วงเวลาเลย (เเม้เเต่ประธานบริษัทเองก็ตาม)

ส่วนปาร์ตี้กินเลี้ยงที่ต้องไปกับลูกค้า-ผู้ร่วมงานนั้นมีทุกบริษัทไม่ว่าจะสีดำหรือธรรมดาค่ะ ขึ้นอยู่กับโอกาสว่าจะได้ไปหรือไม่ แม้ในปัจจุบันสังคมญี่ปุ่นได้ลดการไปปาร์ตี้สังสรรค์หลังเลิกงาน (โดยเฉพาะแบบที่คอยบังคับลูกน้องให้ไปด้วย) ซึ่งลดกันไปเยอะเเล้ว เเต่บริษัทสีดำที่มีความจำเป็นต้องใช้การสังสรรค์เหล่านี้ในการทำความสนิทสนมกับลูกค้า ก็ยังมีการบังคับพนักงานอยู่ค่ะ ทางผู้เขียนก็ได้ไปมาหลายครั้งค่ะ ส่วนใหญ่มักจะจบปารตี้กันตอนตี2 - ตี4 เป็นช่วงเวลาที่ไม่มีรถไฟวิ่งเเล้ว ทำให้ต้องนั่งเเท็กซี่กลับ จะขอออกมาก่อนก็ไม่ได้ เนื่องจากว่าเราเด็กสุดเเละผู้ใหญ่ไม่ยอมให้กลับค่ะ

2. งานเลี้ยงหลังเลิกงานที่เลี่ยงไม่ได้ กลับก่อนก็ไม่ได้

ปาร์ตี้กินเลี้ยงที่ต้องไปกับลูกค้า-ผู้ร่วมงานนั้นมีทุกบริษัทไม่ว่าจะสีดำหรือธรรมดาค่ะ ขึ้นอยู่กับโอกาสว่าจะได้ไปหรือไม่ แม้ในปัจจุบันสังคมญี่ปุ่นได้ลดการไปปาร์ตี้สังสรรค์หลังเลิกงาน (โดยเฉพาะแบบที่คอยบังคับลูกน้องให้ไปด้วย) ซึ่งลดกันไปเยอะเเล้ว เเต่บริษัทสีดำที่มีความจำเป็นต้องใช้การสังสรรค์เหล่านี้ในการทำความสนิทสนมกับลูกค้า ก็ยังมีการบังคับพนักงานอยู่ค่ะ

ทางผู้เขียนเองก็ได้ไปมาหลายครั้งค่ะ ส่วนใหญ่มักจะจบปาร์ตี้กันตอนตี2 - ตี4 เป็นช่วงเวลาที่ไม่มีรถไฟวิ่งเเล้ว ทำให้ต้องนั่งเเท็กซี่กลับ จะขอออกมาก่อนก็ไม่ได้ เนื่องจากว่าเราเด็กสุดเเละผู้ใหญ่ไม่ยอมให้กลับค่ะ

3. ทำงานแม้แต่ในเวลาสังสรรค์ สัญลักษณ์ของ Black Company แบบญี่ปุ่น

3. ทำงานแม้แต่ในเวลาสังสรรค์ สัญลักษณ์ของ Black Company แบบญี่ปุ่น

https://pixta.jp/

นอกจากนั้น เวลาที่ไปทานข้าวกับบริษัท ไม่ว่าจะส่วนตัวหรือเพราะเรื่องงาน ผู้ที่มีตำเเหน่งต่ำที่สุดก็จำเป็นที่ต้องอำนวยความสะดวกให้กับผู้อื่นเสมอ (อันนี้บริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็เป็นนะคะ ไม่ใช่เเค่บริษัทมืด เเต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เเล้วเเต่วัฒนธรรมของเเต่ละบริษัทด้วย) ผู้น้อยไม่สามารถทานข้าวอย่างเป็นสุขหรืออิ่มเเปร้เเบบคนอื่นได้ โดยมักจะมีหน้าที่เริ่มตั้งเเต่การจองร้าน ลำดับการนั่งที่นั่งในโต้ะว่าใครนั่งตรงไหน (ส่วนผู้น้อยต้องนั่งใกล้ประตูที่สุดเท่านั้น เพื่อสามารถคุยเเละสั่งอาหารกับพนักงานได้สะดวก) เเละจำเป็นที่ต้องคอยดูเเลเครื่องดื่มของคนทั้งโต๊ะว่าต้องการดื่มอะไร หมดเเล้วหรือยัง จะดื่มอะไรต่อ ส่วนอาหารจะไม่สามารถทานก่อนผู้อื่นได้ หรือบางครั้งยุ่งจนไม่ได้ทานก็มีค่ะ

สำหรับบริษัทมืดนั้น เพียงเเค่ดูเเลเครื่องดื่มเเละอาหารนั้นไม่พอ เเต่บางคนต้องเอนเตอร์เทนหัวหน้าเเละลูกค้าด้วย ยกตัวอย่างเช่นเล่าเรื่องตลก เเสดงความสามารถพิเศษ (เช่นดื่มเบียร์ในอึกเดียว)

เรื่องเหล่านี้เหมือนว่าจะดูสนุกไม่ใช่เรื่องที่ดูเลวร้ายอะไร เเต่สิ่งต่างๆที่กล่าวมานั้นเป็นสิ่งที่ออกแนวว่าต้องทำ เหมือนโดนบังคับกลายๆ ถึงจะไม่รู้สึกสนุกเเต่ก็ต้องบิ๊วตัวเองให้สนุกตลอดทั้งๆที่เลยเวลางานเเล้ว เเถมยังต้องอยู่จนถึงดึกดื่นก็เหนื่อยค่ะ ถ้าเราทำได้ไม่ดี ก็จะโดนเรียกไปด่าเป็นเรื่องเป็นราวทั้งที่ไม่ควรโดน เเละอาจกระทบกับงานที่ทำได้ด้วย

4. เนื้อหางานไม่ตรงกับตำเเหน่งหน้าที่

ในหลายบริษัทของญี่ปุ่น เด็กใหม่หรือคนที่พึ่งเข้าทำงาน จะถูกมองว่ามีตำเเหน่ง "ต่ำสุด" ในบริษัท เเละจำเป็นที่จะต้องให้ความเคารพรุ่นพี่ รวมถึงทำงานจิปาถะต่างๆด้วย (ยกตัวอย่างเช่นเสริฟชากาเเฟให้ลูกค้า ไปถ่ายเอกสารด้วย)

เเต่ในบริษัทสีดำนั้น นอกจากหน้าที่จิปาถะที่เด็กใหม่บริษัททั่วไปเขาทำกัน ก็ต้องทำงานอื่นที่นอกเหนือกับเนื้อหางานของตนเองด้วย ยกตัวอย่างเช่นทำงานเป็นฝ่ายวางเเผนธุรกิจ เเต่ต้องมาล้างห้องน้ำ ทิ้งขยะ ถูพื้้น นับสต๊อกสินค้าเป็นต้น

อย่างตัวผู้เขียนเอง ถึงเเม้จะทำงานเป็นล่ามอยู่ในเเผนกวางเเผนงาน แต่ทว่าได้ทำงานในตำเเหน่งเเละเนื้อหางานของตัวเองเพียงเเค่ประมาณ 30% ส่วนที่เหลือคือถูกรุ่นพี่เเละหัวหน้าให้ไปขายของ เตรียมสินค้า นับสต๊อก ล้างห้องน้ำ เติมเครื่องดื่มที่จะขายให้ลูกค้าในสถานที่จัดงาน ดูดฝุ่น ทิ้งขยะ ทั้งๆที่หน้าที่เหล่านั้นไม่ได้อยู่ในเนื้อหางานของผู้เขียนเลย เเละมีคนที่มีหน้าที่ที่ต้องทำสิ่งเหล่านั้นอยู่เเล้ว (ที่ยอมทำเพราะว่าเป็นเด็กใหม่ คิดเสียว่าเรียนรู้งาน เเต่สุดท้ายมาทราบว่าจริงๆเเล้วมีคนประจำตำเเหน่งนั้น ต้องมีคนช่วยเราทำ ไม่ใช่เราทำเพียงคนเดียว)

5. ปัญหาหลักของ Black Company คือค่าล่วงเวลา วันหยุด เเละค่าตอบเเทน

5. ปัญหาหลักของ Black Company คือค่าล่วงเวลา วันหยุด เเละค่าตอบเเทน

สำหรับบริษัทสีดำ ต่อให้ทำงานหนักเเค่ไหนก็ไม่ได้มีผลอะไรกับเงินเดือนค่ะ เพราะโบนัสก็อาจจะไม่ได้ด้วย เงินเดือนขั้นพื้นฐานหากเปรียบเทียบกับที่ไทยเเล้วอาจจะดูเยอะ เเต่หากดูค่าครองชีพที่ญี่ปุ่นเเล้ว เงินเดือนก็ไม่ได้เยอะขนาดนั้นค่ะ
หากได้ทำงานบริษัททั่วไปที่มีสวัสดิการดี มีวันหยุดที่เหมาะสม มีการจ่ายค่าล่วงเวลา ค่าเดินทาง ช่วยค่าบ้าน ก็อาจจะคุ้มค่าที่ได้มาทำงานที่ญี่ปุ่นเเละมีเงินเก็บกลับไป แต่ถ้าหากได้ทำงานในบริษัทมืดที่สวัสดิการไม่ดี วันหยุดเเทบไม่มี ค่าล่วงเวลาไม่จ่าย ก็ไม่น่าคุ้มนะคะ นอกจากนั้นยังมีกรณีให้พนักงานออกเงินไปก่อนในระหว่างการทำงาน เช่นพวกค่าเดินทาง ค่าอุปกรณ์ต่างๆ โดยจะจ่ายคืนในภายหลัง เเต่พอถึงเวลาจริงๆก็ไม่จ่ายหรือจ่ายช้ามากๆก็มีค่ะ

พนักงานถูกบังคับให้ทำงานยันดึกดื่น เวลาที่ทำงานเกินไปโดยทางบริษัทไม่จ่ายค่าล่วงเวลาให้ (โอที) จริงๆเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผิดกฏหมายในญี่ปุ่นแล้ว เเต่บางบริษัทก็มีวิธีในการหลบเลี่ยงได้ค่ะ เเละด้วยความที่คนญี่ปุ่นเป็นคนที่มีความรับผิดชอบสูง หากงานไม่เสร็จทำไม่ทำกำหนดส่งก็จะไม่กลับ และไม่จำเป็นต้องจ่ายโอทีก็ยอมทำ คนที่ยอมรับเรื่องเเบบนี้ก็มีเยอะค่ะ บริษัทก็สบายไป (อันนี้น่าชื่นชมในความรับผิดชอบของพนักงาน)
อย่างตัวผู้เขียนเอง ก็เคยทำงานล่วงเวลาไปถึง 50-60 กว่าชั่วโมงในเดือนเดียวโดยที่ไม่ได้อะไรเลยค่ะ (เเต่รุ่นพี่ในบริษัททำล่วงเวลากันโหดมากค่ะ หนักกว่าผู้เขียนเยอะ นับถือในความขยันมากๆ)

วันหยุดของพนักงานก็จะไม่เหมือนได้หยุด อาจต้องมาทำงาน ต้องไปทานข้าว คอยอำนวยความสะดวกให้กับหัวหน้าเเละผู้บริหารเช่นไปตีกอล์ฟเป็นต้นค่ะ ส่วนตัวผู้เขียนเองก็ได้วันหยุดที่ไม่ค่อยน่าพึ่งพอใจสักเท่าไหร่ค่ะ ในวันหยุด Gloden Week ที่คนทั่วไปเขาหยุดกันเป็นอาทิตย์ บริษัทของผู้เขียนไม่ได้หยุด (เนื่องจากเป็นบริษัทที่จัดอีเว้นท์ตลอดเวลา) ก็เข้าใจได้ค่ะว่างานแบบนี้ไม่สามารถหยุดในช่วงที่คนอื่นหยุดกันได้ เเต่วันหยุดชดเชยนั้นได้เพียงครึ่งเดียวของวันหยุดที่คนอื่นได้กันค่ะ (โอทีก็ไม่ได้ วันหยุดก็ไม่มีอีก ผู้เขียนเหนื่อยใจ๋ม๊ากมากก)

6. เพื่อนร่วมงานที่ไม่ดี (ทั้งใน Black Company และบริษัททั่วไป)

สำนวนไทยที่ว่า คับที่อยู่ง่าย คับใจอยู่ยาก อยากจะกรีดร้องบอกทุกคนเสียเหลือเกินว่ามัน จริ๊งงง!!

สำหรับบริษัทสีดำนั้นเพื่อนร่วมงานก็อาจมีจิตใจดำมืดพอๆกับบริษัทก็เป็นได้ค่ะ ไม่ได้หมายความว่า 100 ทั้ง100 มีเเต่คนไม่ดี คนดีๆก็มีค่ะ เเต่คนไม่ดีที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงนั้นก็คือเพื่อนร่วมงานที่ใช้อำนาจข่มขู่ หรือเรียกว่า Power Harassment (ญี่ปุ่นเรียกว่าพาวะฮาระ) เเละล่วงละเมิดทางเพศ Sexual Harassment (เซกุฮาระ) กับเพื่อนร่วมงานด้วยกันค่ะ

ส่วนใหญ่จะพบการใช้อำนาจข่มขู่เเละล่วงละเมิดทางเพศในบริษัทสีดำอยู่เสมอค่ะ พบมากกว่าบริษัททั่วไปเพราะว่ากฏเกณท์ต่างๆของบริษัทสีดำปล่อยปละละเลยและทำให้ผู้มีตำแหน่งสูงกว่าสามารถกดขี่ผู้มีตำแหน่งต่ำกว่าได้ง่ายนั่นเอง

Power Harassment พาวาฮาระ การใช้อำนาจกดขี่เกินจำเป็น

Power Harassment พาวาฮาระ การใช้อำนาจกดขี่เกินจำเป็น

https://pixta.jp

ตัวอย่างของการ Power Harassment การใช้อำนาจข่มขู่เกินจำเป็นที่เกิดขึ้นในบริษัทสีดำ
- ห้ามกลับบ้านก่อนหัวหน้า
- บังคับให้ทำงานล่วงเวลานอกเหนือหน้าที่ของตนเอง
- บังคับให้เเสดงตลก เเสดงความสามารถพิเศษให้ดู เพื่อเอนเตอร์เทนลูกค้าเเละตนเอง
- ดูถูกเเละบั่นทอนจิตใจ ดุด่าอย่างไม่มีเหตุผลทั้งต่อหน้าผู้อื่นหรือลับหลังผู้อื่น
- ใช้กำลังทำร้ายร่างกาย
- กลั่นเเกล้งโดยการไม่มอบงานให้ / มอบงานให้มากกว่าคนอื่น
- กลั่นเเกล้งโดยการล้อเลียน / ทำให้เป็นตัวตลกในบริษัท
- จำกัดสิทธิเสรีภาพของพนักงาน

Sexual Harassment เซกุฮาระ หรือการล่วงละเมิดทางเพศ

Sexual Harassment เซกุฮาระ หรือการล่วงละเมิดทางเพศ

https://pixta.jp/

ตัวอย่างการ Sexual Harassment ที่เกิดขึ้นในบริษัทสีดำ
- สัมผัสถูกตัวโดยไม่จำเป็น
- ลวนลาม ทั้งการกระทำเเละวาจา
- ดูถูกเพศสภาพ
- ปฎิบัติเเบ่งเเยกระหว่างพนักงานที่หน้าตาดีกับพนักงานหน้าตาทั่วไป
- ขั้นสูงสุดก็คือ การบังคับให้มีความสัมพันธ์ทางเพศด้วย

ถ้าคิดว่าบริษัทที่ตัวเองทำงานเป็นบริษัทสีดำ Black Company

จากปัญหาต่างๆที่กล่าวไปข้างต้น ทำให้พนักงานอย่างเราเสียสุขภาพจิต ทั้งเหนื่อยกายเเล้วยังเหนื่อยใจ พนักงานโดนกระทำก็ไม่สามารถร้องเรียนกับใครได้ค่ะ หลายๆคนจึงเลือกที่จะลาออก หรือคนที่เครียดมากจนจบชีวิตตัวเองด้วยการฆ่าตัวตายก็มีค่ะ ดังนั้นเพื่อป้องกันความปลอดภัยทั้งร่างกายเเละจิตใจก่อนมาทำงานที่ญี่ปุ่นไม่ให้เจอบริษัทสีดำเวลาเลือกบริษัท ผู้เขียนเเนะนำให้ลองอ่านรีวิวการทำงานจากเว็บไซต์นี้เป็นต้นค่ะ En hyouban (ภาษาญี่ปุ่น)

เว็บไซต์ตรวจสอบข้อมูลบริษัทและคอมเม้นของอดีตพนักงาน พอใส่ชื่อบริษัทเข้าไปก็จะมีคอมเม้นของรุ่นพี่เเละคนที่ลาออกไปเเล้วมาคอมเม้นท์เอาไว้ว่าบริษัทนี้ดียังไงไม่ดียังไง โดยเเยกเป็นหมวดหมู่ในเรื่องค่าตอบเเทน เนื้อหางาน สังคมการทำงานเป็นต้น ซึ่งช่วยในการตัดสินใจเลือกบริษัทได้ดีเลยค่ะ เว้นเเต่ว่าบริษัทนั้นเป็นบริษัทใหม่เเละยังไม่มีคนไปรีวิว ก็จะต้องเเล้วเเต่บุญเเต่กรรมค่ะ 555555 (หัวเราะเเห้ง)

บริษัทสีดำนั้นก็ถือเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งในญี่ปุ่น ที่ทางญี่ปุ่นเองก็พยายามจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานลดความเป็นสีดำลง แต่ในการทำงานทุกบริษัทก็มีทั้งมุมที่ดีเเละไม่ดีทั้งนั้นค่ะ สำหรับคนที่ทำงานที่ญี่ปุ่นที่เจอระบบบริษัทที่คิดว่าจะเป็นสีดำ รู้สึกเครียดเเละอยากเล่าเรืองราวให้ใครสักคนฟัง ก็มีเบอร์ฮอทไลน์ 03-5774-0992 (ภาษาอังกฤษ) หรือเเชทคุยกับทีมงานได้ที่เว็บ https://telljp.com/lifeline/ ได้เป็นต้นค่ะ

ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่อยู่ในวัยทำงานหรือกำลังหางาน ขอให้เจอที่ดีๆ ไม่มี BLACK เเละขอให้ผ่านเรื่องราวต่างๆไปได้ด้วยดีค่ะ พยายามไปด้วยกันนะคะ :)

know-before-you-go