allabout japan
allabout japan

รอบรู้เรื่องเครื่องดนตรีญี่ปุ่น ภาคเครื่องตี

รอบรู้เรื่องเครื่องดนตรีญี่ปุ่น ภาคเครื่องตี
pixta.jp

เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีใช้การกระทบกันของ 2 สิ่ง สั่นสะเทือนจนเกิดเสียง เครื่องตีของญี่ปุ่นที่เห็นบ่อยคือกลองซึ่งเป็นเครื่องหนัง มีความสำคัญมาตั้งแต่โบราณเพราะใช้บรรเลงเดี่ยวประกอบพิธีทางการทหาร พิธีกรรมทางศาสนา และพิธีในราชสำนัก ปัจจุบันประกอบการให้จังหวะในงานเทศกาล และงานแสดงดนตรีต่างๆ ทั้งเดี่ยวและเป็นหมู่คณะ ไปดูกันว่าเครื่องหลักๆมีอะไรบ้าง

By hikawasa

เครื่องตี

1 วะไดโกะ (Wadaiko)

https://ja.wikipedia.org/wiki/%E3%83%95%E3%82%A1%E3%82%A4%E3%83%AB:Japanese_drums.JPG

1 วะไดโกะ (Wadaiko)

วะไดโกะ (Wadaiko) เป็นกลองญี่ปุ่น มีหลายขนาด ซึ่งแต่ละขนาดก็จะมีชื่อเรียกต่างออกไป เช่นชิเมะไดโกะ (Shimedaiko) ตัวกลองรัดด้วยเชือกหรือสลักเกลียว, ฮิระไดโกะ (Hiradaiko) ตัวกลองมีขนาดสั้น, นางาโดไดโกะ (Nagadodaiko) หรือมิยะไดโกะ (Miyadaiko) ตัวกลองจะมีขนาดยาว

มิยะไดโกะเป็นกลองยอดนิยมที่สุดของญี่ปุ่นที่เราน่าจะคุ้นหน้าคุ้นตากันดี เพราะสามารถพบเห็นได้ตามงานเทศกาล งานแสดงดนตรีต่าง ๆ และในพิธีกรรมทางศาสนา ลักษณะคล้ายกับถังไวน์ หน้ากลองทั้ง 2 ข้างทำมาจากหนังวัว วิธีการเล่นคือตีด้วยไม้ให้เป็น 2 จังหวะ คือจังหวะ “หญิง” ซึ่งเป็นจังหวะเบากว่าบรรเลงโดยมือซ้าย (Mebachi) และจังหวะ “ชาย” ซึ่งหนักแน่นกว่าบรรเลงโดยมือขวา (Obachi)

2 โคะสึซึมิ (Kotsuzumi

https://fr.m.wikipedia.org/wiki/Fichier:Japanese_small_hand_drum,kotsudumi,katori-city,japan.JPG

2 โคะสึซึมิ (Kotsuzumi

โคะสึซึมิเป็นกลอง 2 หน้าที่มีรูปทรงคล้ายกับนาฬิกาทราย บรรเลงโดยการตีด้วยไม้แท่งเดียวที่เรียกว่า “บาจิ” ขนาดของโคะสึซึมิมีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร หน้ากลองที่เป็นสีขาวมีขนาดประมาณ 21 เซนติเมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40 เซนติเมตร เจาะรู 8 รู รัดไว้ด้วยเชือก วิธีเล่นคือเอามือซ้ายจับบริเวณตรงกลางของกลอง และมือขวาจับไม้บาจิตีเป็นจังหวะ

3 คักโกะ (Kakko)

คักโกะ คือ กลองที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอก มี 2 หน้า ตั้งอยู่บนขาตั้ง เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้เล่นในกางาคุ (Gagaku) ดนตรีในราชสำนักของญี่ปุ่น เวลาบรรเลงจะอยู่ที่ด้านหน้าของวง หน้ากลองนิยมหุ้มด้วยหน้งกวาง มีความยาว 30 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร ตีด้วยไม้ที่เรียกว่าบาจิ (Bachi) ไม้ตีขวาเรียกว่าโอบาจิ (Obachi) ไม้ตีซ้ายเรียกว่าเมบาจิ (Mebachi) วิธีเล่นคือตีด้วยไม้ทั้ง 2 หน้าของกลอง 3 จังหวะ จังหวะเดี่ยวตีด้วยไม้ทางขวาเรียกว่าเซ (Sei) เร่งจังหวะให้ช้าโดยตีด้วยไม้ทางซ้ายเรียกว่าคาตาไร (Katarai) และจบด้วยจังหวะช้าโดยตีสลับกัน 2 ด้านเรียกว่าโมโมไร (Momorai)

4 โชโกะ (Shoko)

https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Shoko.JPG

4 โชโกะ (Shoko)

โชโกะ เป็นเครื่องดนตรีประเภทฆ้องโลหะ ใช้บรรเลงในดนตรีราชสำนักกางาคุ (Gagaku) คู่กับการร่ายรำโบราณที่เรียกว่า บุงาคุ (Bugaku) โชโกะมี 3 ขนาด ได้แก่ สึริโชโกะ (Tsurishoko) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร โอโชโกะ (Oshoko) เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 37 เซนติเมตร และนิไนโชโกะ (Ninaishoko) เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 24 เซนติเมตร ตัวฆ้องแขวนอยู่บนขาตั้ง บรรเลงโดยใช้ไม้คู่ยาว 1 คู่ ตีไปตรงที่เป็นจานกลมๆ ตรงกลาง เคาะจังหวะด้วยมือเดียวเรียกว่าคิง (Kin) เคาะทั้งสองมือเรียกว่าคิคิง (Kikin)

5 ชากุเบียวชิ (Shakubyoshi)

http://iha-gagaku.com/index.html

5 ชากุเบียวชิ (Shakubyoshi)

ชากุเบียวชิคือกรับไม้ ประกอบด้วยแผ่นไม้ 2 แผ่นนำมาตีกระทบกันให้เข้าจังหวะ กล่าวกันว่าเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่นเช่นเดียวกับวะกอน (Wagon) ซึ่งได้แนะนำไปในบทความเรื่องเครื่องสาย มีความยาวประมาณ 35 - 36 ซม ความกว้างส่วนบน 3.5 ซม ส่วนล่าง 2.5 ซม นิยมเล่นประกอบจังหวะในวงดนตรีราชสำนักกางาคุ (Gagaku) การขับร้องไซบาระ (Saibara) โดยนักร้องนำในการแสดง และดนตรีที่ใช้ในพิธีกรรมของชินโต เป็นต้น

hikawasa

หลังจากจบป.ตรีก็เริ่มงานในสายล่ามที่บริษัทญี่ปุ่นเช่น Satake Thailand, Hitachi Engineering & Services และรับงานล่ามให้นิตยสาร Custom Car ไปล่ามให้ตามงาน Motor Expo สักพักออกไปเรียนป.โทต่อที่ธรรมศาสตร์ ตอนทำวิทยานิพนธ์ ทาง Japan Foundation ให้ทุนนักศึกษาไปเก็บข้อมูลวัจัย ได้เห็นญี่ปุ่นในหลายมุม ปัจจุบันเป็นนักแปลฟรีแลนซ์ให้ Bongkoch Publishing, Siam Inter Multimedia Publishing, MEB Corporation ที่ทำสื่อดิจิทัลอีบุ๊คชั้นแนวหน้าของไทย และอีกมากมาย ได้โอกาสมาเป็นนักเขียนบทความท่องเที่ยวให้ AAJ ด้วย

hikawasaxwanako.blogspot.com