All About Japan

รู้รอบเรื่องโคชิเอ็ง

กีฬา เรียนภาษาญี่ปุ่น ชีวิตในญี่ปุ่น Akita

โคชิเอ็ง ชื่อนี้เคยได้ยินมานาน โคชิเอ็งเป็นเวทีศักดิ์สิทธิ์ที่นักกีฬาเบสบอลรุ่นมัธยมปลายใฝ่ฝันว่าจะต้องไปแข่งให้ได้สักครั้งในชีวิต โคชิเอ็งเหมือนเป็นเวทีแห่งความฝันที่ผู้เล่นเบสบอลระดับมัธยมปลายทั่วประเทศมาประลองความเก่งและหัวจิตหัวใจกันอย่างดุเดือดเข้มข้น ใครมีพรสวรรค์ หน่วยก้านดี ฝีมือเข้าตาก็มีโอกาสถูกทาบทามไปเล่นเป็นนักกีฬาอาชีพต่อไปด้วย

โคชิเอ็ง

กีฬาเบสบอลที่นำเข้ามาโดยชาวอเมริกันเป็นที่แพร่หลายในญี่ปุ่น มีการให้ชื่อเบสบอลเป็นภาษาญี่ปุ่นว่ายะคิว 「野球」ซึ่งไม่มีกีฬาชนิดใดที่จะได้ชื่อเป็นตัวคันจิของญี่ปุ่นเช่นนี้ การแข่งโคชิเอ็งที่ได้รับความนิยมก็ด้วยผลมาจากความชอบเบสบอลของคนญี่ปุ่นทั้งประเทศนี้เอง

ว่าด้วยเรื่องของโคชิเอ็ง

ว่าด้วยเรื่องของโคชิเอ็ง

https://commons.wikimedia.org/wiki/File:%E9%98%AA%E7%A5%9E%E7%94%B2%E5%AD%90%E5%9C%92%E7%90%83%E5%A0%B4_-_panoramio_(5).jpg

โคชิเอ็งเป็นชื่อของสนามที่ใช้จัดการแข่งขันกีฬาเบสบอลในระดับมัธยมปลาย เริ่มเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 1924 และในปี 1936 ก็กลายเป็นสนามประจำทีมเบสบอลโอซาก้า ไทเกอร์ส (Osaka Tigers) ซึ่งในปัจจุบันคือฮันชิน ไทเกอร์ส (Hanshin Tigers) ทีมเบสบอลอาชีพชื่อดังของจังหวัดเฮียวโงะ สนามโคชิเอ็งจึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นสนามฮันชินโคชิเอ็ง (Hanshin Koshien) จุผู้ชมได้ถึง 47,508 ที่นั่ง มีพื้นที่สนามประมาณ 13,000 ตารางเมตร พื้นที่นั่งอัฒจันทร์กลางแจ้งประมาณ 22,600 ตารางเมตร และถึงแม้ไม่มีฤดูกาลเบสบอลก็สามารถเข้าไปเที่ยวชมสนามโคชิเอ็งได้ มีร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก และมีพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ของโคชิเอ็งให้ศึกษาด้วย

ทัวร์นาเม้นท์การแข่งขันเบสบอลระดับมัธยมปลายโคชิเอ็งซึ่งจัดที่สนามโคชิเอ็ง เมืองนิชิโนมิยะ จังหวัดเฮียวโงะนี้ได้สหพันธ์เบสบอลโรงเรียนมัธยมปลายแห่งญี่ปุ่น (Japan High School Baseball Federation) กับหนังสือพิมพ์อาซาฮิ (Asahi Shimbun) เป็นเจ้าภาพสนับสนุนจัดการแข่งขัน

การแข่งขันเบสบอลชิงชนะเลิศในโคชิเอ็งจัดขึ้น 2 ครั้งต่อปี คือในช่วงฤดูใบไม้ผลิ (เดือนสิงหาคม) กับฤดูร้อน (เดือนมีนาคม)

ทีมที่เข้าแข่งขัน

ทีมที่เข้าแข่งขัน

https://ja.wikipedia.org/wiki/%E3%83%95%E3%82%A1%E3%82%A4%E3%83%AB:20111127_Kousei_Gakuin_High_school_Baseball_Club_at_Meiji_Jingu_Stadium.JPG

การแข่งภาคฤดูร้อน ทีมผู้เข้าแข่งขันจากจังหวัดต่างๆ ทำการแข่งขันในรอบคัดเลือก แล้วโรงเรียนที่เป็นทีมแชมป์ประจำจังหวัดก็จะได้เป็นตัวแทนของจังหวัดเข้ามาชิงชัยที่สนามโคชิเอ็ง

ส่วนการแข่งภาคฤดูใบไม้ผลิ ทางสหพันธ์เบสบอลโรงเรียนมัธยมปลายแห่งญี่ปุ่นจะทำการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขัน โดยดูจากทีมที่มีผลงานดีหรือมีผู้เล่นที่โดดเด่นน่าสนใจ สำหรับโคชิเอ็งครั้งที่ 100 ซึ่งจัดในปี 2018 นี้มีทีมจากจังหวัดต่างๆ 56 ทีมด้วยกัน

1 จาก Kita Hokkaido ทีม Asahikawa Daigaku เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 8
2 จาก Minami Hokkaido ทีม Hokusho เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 4
3 จาก Aomori ทีม Hachinohe Gakuin Kosei เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 9
4 จาก Iwate ทีม Hanamaki Higashi เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 9
5 จาก Akita ทีม Kanaashi Nogyo Pub เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 6
6 จาก Yamagata ทีม Haguro เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 2
7 จาก Miyagi ทีม Sendai Ikuei เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 27
8 จาก Fukushima ทีม Seiko Gakuin เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 15
9 จาก Ibaraki ทีม Tsuchiura Nihon Daigaku เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 4
10 จาก Tochigi ทีม Sakushin Gakuin เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 14
11 จาก Gunma ทีม Maebashi Ikuei เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 4
12 จาก Yamanashi ทีม Yamanashi Gakuin เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 8
13 จาก Kita Saitama ทีม Hanasaki Tokuharu เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 6
14 จาก Minami Saitama ทีม Urawa Gakuin เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 13
15 จาก Higashi Chiba ทีม Kisarazu Sogo เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 7
16 จาก Nishi Chiba ทีม Chuo Gakuin เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 1
17 จาก Higashi Tokyo ทีม Nisho Gakusha Daigaku Fuzoku เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 3
18 จาก Nishi Tokyo ทีม Nihon Daigaku Dai San เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 17
19 จาก Kita Kanagawa ทีม Keio เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 18
20 จาก Minami Kanagawa ทีม Yokohama เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 18
21 จาก Niigata ทีม Chuetsu เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 11
22 จาก Toyama ทีม Takaoka Shogyo เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 19
23 จาก Nagano ทีม Saku Chosei เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 8
24 จาก Ishikawa ทีม Seiryo เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 19
25 จาก Fukui ทีม Tsuruga Kehi เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 8
26 จาก Shizuoka ทีม Tokoha Daigaku Fuzoku Kikugawa เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 6
27 จาก Higashi Aichi ทีม Aichi Sangyo Daigaku Mikawa เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 2
28 จาก Nishi Aichi ทีม Aichi Kogyo Daigaku Meiden เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 12
29 จาก Gifu ทีม Ogaki Nihon Daigaku เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 5
30 จาก Mie ทีม Hakusan เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 1
31 จาก Shiga ทีม Omi เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 13
32 จาก Kyoto ทีม Ryukoku Daigaku Fuzoku Heian เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 34
33 จาก Kita Osaka ทีม Osaka Toin เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 10
34 จาก Minami Osaka ทีม Kinki Daigaku Fuzoku เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 5
35 จาก Higashi Hyogo ทีม Hotoku Gakuen เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 15
36 จาก Nishi Hyogo ทีม Akashi Shogyo เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 1
37 จาก Nara ทีม Nara Daigaku Fuzoku เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 1
38 จาก Wakayama ทีม Chiben Wakayama เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 23
39 จาก Tottori ทีม Tottori Johoku เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 5
40 จาก Shimane ทีม Masuda Higashi เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 4
41 จาก Okayama ทีม Soshi Gakuen เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 2
42 จาก Hiroshima ทีม Koryo เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 23
43 จาก Yamaguchi ทีม Shimonoseki Kokusai เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 2
44 จาก Kagawa ทีม Marugame Josei เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 5
45 จาก Ehime ทีม Saibi เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 6
46 จาก Tokushima ทีม Naruto เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 12
47 จาก Kochi ทีม Kochi Shogyo เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 23
48 จาก Kita Fukuoka ทีม Orio Aishin เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 1
49 จาก Minami Fukuoka ทีม Oki Gakuen เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 1
50 จาก Saga ทีม Saga Shogyo เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 16
51 จาก Nagasaki ทีม Sohseikan เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 2
52 จาก Oita ทีม Toin เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 2
53 จาก Kumamoto ทีม Tokai Daigaku Fuzoku Kumamoto Seisho เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 2
54 จาก Miyazaki ทีม Nichinan Gakuen เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 9
55 จาก Kagoshima ทีม Kagoshima Jitsugyo เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 19
56 จาก Okinawa ทีม Konan เข้ามาชิงเป็นครั้งที่ 12

Kanaashi Agricultural High School

จะเห็นได้ว่าหลายๆทีมไม่ได้เป็นทีมที่เข้ารอบมาเป็นครั้งแรกนะ แต่ถึงจะเคยเข้ารอบหลายครั้งก็ใช่ว่าจะต้องเก่งแบบฟอร์มแชมป์ เพราะแข่งกันมาเป็นร้อยปีแล้วนี่จะเข้ารอบได้หลายครั้งก็ไม่แปลก

หนึ่งในทีมที่เข้ารอบมาปีนี้ มีทีมที่เป็นข่าวใหญ่ทีมหนึ่งก็คือ ทีมชุดขาวม่วง โรงเรียนการเกษตรคานาอาชิ จากจังหวัดอาคิตะเป็นทีมม้ามืดที่สร้างความฮือฮาให้กับการแข่งโคชิเอ็งมากทีเดียว (แม้ว่านี่จะไม่ใช่การเข้าแข่งครั้งแรก) แต่ได้รับการชื่นชมด้วยการทีี่สามารถเอาชนะทีมแข็งๆ เข้ามาจนถึงรอบชิงชนะเลิศครั้งแรกในรอบ 103 ปีเลยเชียวนะ ที่ผ่านมานั้นโรงเรียนการเกษตรมักไม่ได้เข้ามาชิงถึงรอบลึกๆ แบบนี้ ความทุ่มเทฝึกซ้อมเห็นผลในโคชิเอ็งครั้งที่ 100 นี้แล้ว ถึงแม้จะไม่สามารถผ่านด่านทีมโอซาก้า โทอินสุดแกร่งที่ฟอร์มกำลังมาแรงได้ คานาอาชิก็พิสูจน์ความตั้งใจให้คนทั้งประเทศเห็นแล้ว แม้ไม่ใช่แชมป์โคชิเอ็งแต่ก็เป็นแชมป์ที่ยิ่งใหญ่ในใจชาวจังหวัดอาคิตะเป็นที่เรียบร้อย

ทำไมคนถึงชอบโคชิเอ็ง?

ตั๋วสำหรับเข้าไปชมการแข่งโคชิเอ็งแบบสัมผัสบรรยากาศในสนามแข่งจริงถูกจับจองอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีการถ่ายทอดสดให้ชมกันทั่วประเทศ หนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ ก็ลงข่าว ลงสกู๊ปพิเศษ เหล่านี้เป็นภาพรวมที่คนภายนอกอย่างเราๆ เห็นได้ชัดถึงความชื่นชอบของคนญี่ปุ่นที่มีต่อการแข่งโคชิเอ็ง

ทำไมถึงดูการแข่งเบสบอลนักเรียน?

น่าสงสัยเหมือนกันว่าทำไมถึงเลือกดูเบสบอลนักเรียน ทั้งๆที่ญี่ปุ่นมีลีกอาชีพของแท้ที่คนเล่นเป็นมืออาชีพ มีฝีมือกว่า เล่นกันจริงจังกว่า

เคยมีคนทำการทำสำรวจเรื่องความสนุกและเสน่ห์ของโคชิเอ็งด้วย จากผู้ตอบแบบสอบถามกว่าสามพันคน เราลองมาวิเคราะห์คำตอบกันดูดีกว่า โดยจากผลสำรวจปรากฏว่า

-เหตุผลอันดับ 1 คือ การแข่งดำเนินไปโดยไม่รู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ในช่วงเกมกำลังดำเนินไปเราไม่อาจคาดเดาตอนจบได้ บางครั้งทีมที่ทำคะแนนนำอยู่อาจโดนโต้กลับในช่วงสุดท้ายและแพ้ไปเลยก็ได้เหมือนกัน

-เหตุผลอันดับ 2 เพราะเป็นทัวร์นาเม้นท์ที่แพ้แล้วจบ การแข่งในโคชิเอ็งเป็นแบบแพ้แล้วคัดออก ดังนั้นแต่ละทีมจึงมีโอกาสแค่ทีมละครั้ง จึงเป็นอีกเสน่ห์หนึ่งของโคชิเอ็งที่คนชอบ

-เหตุผลอันดับ 3 คือเป็นการแข่งขันที่จังหวัดต่างๆมาเผชิญหน้ากัน เป็นโอกาสหายากที่จังหวัดต่างๆ จะมารวมกันแข่งกันได้แบบนี้ แล้วการแข่งแบบดวลกันไปเลยว่าทีมไหนจะชนะก็เป็นการแข่งแบบที่คนญี่ปุ่นชอบเสียด้วย

-เหตุผลอันดับ 4 ความมีน้ำใจนักกีฬาที่กล้าหาญ กีฬาย่อมมีแพ้มีชนะ คนดูก็จะได้เห็นทีมที่แพ้เพราะวันนี้ไม่ใช่วันของเรามีน้ำใจนักกีฬาให้กำลังใจกับทีมชนะ

-เหตุผลอันดับ 5 เพราะรู้สึกถึงความเป็นวัยรุ่น วัยรุ่นเป็นวัยสดใส มีพลัง การใช้ชีวิตวัยรุ่นให้คุ้มค่าก็สำคัญเช่นกัน คนที่ผ่านพ้นวัยรุ่นมาแล้วพอเห็นก็จะรู้สึกมีชีวิตชีวาไปด้วย

-เหตุผลอันดับ 6 ได้เห็นการทำผลงานของเด็กหนุ่มที่มีอนาคต ถ้าได้มาเล่นโคชิเอ็งก็จะได้โชว์ศักยภาพของตัวเองให้คนเห็น และมีโอกาสถูกสเก๊าไปเล่นเบสบอลอาชีพ อนาคตสดใส ผู้ชมก็ได้เห็นฟอร์มการเล่นของนักกีฬาทุกคน เป็นอีกหนึ่งความสนุกสำหรับทัวร์นาเม้นท์ในโคชิเอ็ง

-เหตุผลอันดับ 7 ทีมเพลย์ เพราะเบสบอลเล่นเป็นทีมทั้งหมด 9 คน ถ้าดูโคชิเอ็งก็จะเห็นความเป็นทีมเวิร์คซึ่งเป็นอะไรที่มีพลังมาก ทุกคนรวมเป็นน้ำหนึ่งน้ำใจเดียวกัน จุดนี้เป็นเสน่ห์พีคๆ ของเบสบอลเลยล่ะ

-เหตุผลอันดับ 8 ทุกโรงเรียนรวมใจเชียร์เป็นหมู่คณะ ข้อนี้จะได้เห็นความสามัคคีกันเชียร์ ทั้งเชียร์ลีดเดอร์ และวงเครื่องทองเหลืองทั้งหลาย

-เหตุผลอันดับ 9 นักกีฬาเติบโตขึ้นในการแข่งขันแต่ละเกม การมาแข่งโคชิเอ็งเป็นการสะสมประสบการณ์ที่ดี นักกีฬาจะรู้จุดด้อยของตนเองแล้วนำไปแก้ไข พัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้น

- chosa.nifty.com (ภาษาญี่ปุ่น)

กองเชียร์ในโคชิเอ็ง

เสียงเชียร์ที่ดังกระหึ่มในสนามแข่งเป็นอีกสีสันของโคชิเอ็ง เมื่อทีมของตัวเองลงแข่ง กองเชียร์ก็จะขนวงดุริยางค์ เครื่องดนตรีประโคม และทีมเชียร์มาแบบจัดเต็ม บนสแตนด์จะเต็มไปด้วยธง ผ้าสี ป้าย อุปกรณ์ต่างๆ สำหรับเชียร์ โชว์ลีลาทีเด็ดแบบไม่ยอมแพ้ทีมไหน เพลงที่เปิดระหว่างเกมก็เป็นเพลงที่กำลังฮิตติดชาร์ตอยู่ในช่วงนั้นๆ เพิ่มความฮึกเหิมให้นักกีฬามีใจสู้ยิ่งขึ้นไปอีก

https://www.youtube.com/watch?v=i5dKrIDEmu4

ไฮไลท์บรรยากาศการเชียร์ทั้งในสนามโคชิเอ็งและที่จังหวัดอาคิตะนี้ เป็นตัวอย่างที่ทำให้เรามองเห็นว่าชาวญี่ปุ่นไม่ได้สนใจแค่นักกีฬาอาชีพ แต่ยังให้ความสนใจกับกีฬาระดับนักเรียนมัธยมปลายอย่างมาก

มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ให้แฟนๆ ทางบ้านได้ลุ้นกันวินาทีต่อวินาที คึกคักทั้งกองเชียร์ที่เข้ามาให้กำลังใจกันอย่างล้นหลาม และทั้งแรงเชียร์ที่ส่งใจถึงทีมจากจังหวัดที่อยู่ไกลห่าง บรรยากาศของโมเมนท์ที่ทีมจังหวัดอาคิตะเข้าไปชิงชนะเลิศมีแต่ความสุขจนบรรยายไม่ถูกเลยทีเดียว

know-before-you-go