All About Japan

5 แหล่งออนไลน์ สำหรับสินค้ามือสองและของหายาก

เทคโนโลยี ช็อปปิ้ง ประหยัด ของฝาก รู้ลึกเรื่องญี่ปุ่น
5 แหล่งออนไลน์ สำหรับสินค้ามือสองและของหายาก

คุณเคยมาเที่ยวญี่ปุ่นแล้วต้องวุ่นกับการตามหาของที่อยากได้เป็นวันๆ มั้ย
ทั้งหนังสือ ของสะสม ไปจนถึงตุ๊กตาเครนเกม ซึ่งบางอย่างก็ไม่มีขายในท้องตลาดแล้ว
หรือสำหรับคนที่อยู่ญี่ปุ่น การต้องซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่ก็ทำให้รู้สึกเสียดายเงินไม่น้อย

รู้มั้ยว่า ที่นี่มีเว็บไซต์ซื้อขายสินค้ามือสองสำหรับเหล่านักช็อปออนไลน์อยู่มากมาย
เรามาตามไปดูกันเลยดีกว่า

1. YAHOO AUCTION (เว็บประมูลสินค้า)

1.	YAHOO AUCTION (เว็บประมูลสินค้า)

เว็บไซต์ Yahoo นอกเหนือจากจะเป็นเว็บ Search Engine ชื่อดังของญี่ปุ่นแล้ว ยังเป็นแหล่งตลาดมือสองสำหรับพ่อค้าแม่ค้า และนักช็อปออนไลน์อีกด้วย

เว็บ Yahoo Auction เป็นเว็บที่รวมสินค้าไว้ทุกประเภทตั้งแต่คอมพิวเตอร์ ตั๋วคอนเสิร์ต รองเท้า เสื้อผ้า ฟิกเกอร์ ของจุกจิก ไปจนถึงโบรชัวร์โปสการ์ดที่ระลึกเลยทีเดียว

หรือสมมติว่า ถ้าใครจะมาเที่ยวญี่ปุ่น แล้วจองตั๋ว Disney, Universal Studio หรือ พิพิธภัณฑ์ Ghibli ไม่ทันล่ะก็
ลองเข้ามา Search หาในเว็บนี้ดู ก็อาจจะแจ็คพ็อตเจอตั๋วราคาดีๆ ปล่อยขายต่อก็เป็นได้

ระบบการขายของเว็บนี้จะเป็นระบบ Auction หรือ "ประมูล" เป็นส่วนมาก
ผู้ขายจะตั้งราคาพื้นฐาน และระยะเวลาการประมูลไว้ ให้ผู้ซื้อมากดประมูลแข่งขันกันจนกว่าจะหมดเวลาที่กำหนด หลังประมูลจบ ผู้ซื้อสามารถติดต่อผู้ขายและชำระเงินได้โดยไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆ

ส่วนสำหรับผู้ที่ต้องการขายสินค้าบนเว็บไซต์ จะต้องเสียค่าสมาชิก Premium เดือนละ 400 เยน ซึ่งจะได้รับสิทธิพิเศษอื่นๆในการเป็นสมาชิของเว็บ Yahoo ด้วย

ระบบการจ่ายเงินของเว็บ Yahoo Auction มีทั้ง Credits Card จ่ายผ่านร้านสะดวกซื้อ จ่ายผ่านการโอนธนาคาร(ญี่ปุ่น) หรือแล้วแต่ที่ตัวผู้ขายกำหนด
พอจ่ายเงินเสร็จ ก็ติดต่อคนขายแล้วนอนรอให้ของมาส่งที่ห้องได้เลย

- auctions.yahoo.co.jp (ภาษาญี่ปุ่น)

2. MERCARI (APP ซื้อขายสินค้ามือสอง)

2.	MERCARI (APP ซื้อขายสินค้ามือสอง)

MERCARI เป็นร้านขายของมือสองออนไลน์บน APPLICATION มือถือ ที่เป็นที่น่าจับตามองอีกหนึ่งแห่งเลยทีเดียว เพราะมีระบบที่ใช้ง่าย หน้าตาน่ารัก เพียงแค่ถ่ายรูป ใส่คำอธิบาย กำหนดประเภทสินค้า แล้วกดตกลง ก็โพสสินค้าขึ้น APP ได้ทันที
แถมผู้ขายส่วนใหญ่มักจะลงราคารวมค่าส่งไว้แล้ว ทำให้ผู้ซื้อคำนวนค่าใช้จ่ายได้ง่ายอีกด้วย

ฝ่ายผู้ซื้อไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ ในการสมัครและซื้อสินค้า
แต่ผู้ขายจะถูกหักเงิน 10% จากราคาของที่ขายได้ เพราะฉะนั้นอย่าลืมคำนวนค่าส่งค่าดำเนินการดีๆ ก่อนตั้งราคานะครับ

- www.mercari.com (ภาษาญี่ปุ่น)

3. RAKUMA (APP ซื้อขายสินค้ามือสอง)

3.	RAKUMA (APP ซื้อขายสินค้ามือสอง)

RAKUMA เป็นอีก APP มือถือหนึ่งแอพที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน
เพราะผู้ขายไม่ต้องเสียค่าดำเนินการใดๆ ในการดำเนินการ
แถมยังมีหน้าจอที่ดูหน้าตาน่ารัก User Friendly สามารถใช้งานได้ง่าย
มีช่อง Comment สำหรับพูดคุยสอบถามไปจนถึงต่อราคากับคนขายได้โดยสะดวกอีกด้วย

- rakuma.rakuten.co.jp (ภาษาญี่ปุ่น)

เว็บไซต์นี้เป็นเว็บที่นิยมในหมู่ชาวต่างชาติที่มาทำงานหรือมาเรียนต่อที่ญี่ปุ่น
เพราะเป็นเว็บที่ใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อซื้อ-ขายสินค้ามือสอง อย่าง โต๊ะ ตู้ เตียง ตู้เย็น เครื่องซักผ้า หน้าจอมอนิเตอร์ อุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านซึ่งมีขนาดใหญ่และไม่สะดวกต่อการขนย้ายกลับประเทศ แถมยังไม่มีค่าดำเนินการในการซื้อ-ขายสินค้าอีกด้วย

ในเว็บผู้ขายสามารถมาตั้งกระทู้ขายของ และผู้ซื้อสามารถติดต่อผ่านระบบในเว็บไซต์เพื่อสอบถามสถานที่นัดพบเพื่อรับของและจ่ายตังค์ไว้ ซึ่งเป็นหนึ่งในไม่กี่เว็บไซต์ที่ผู้ซื้อสามารถเดินทางไปรับของด้วยตัวเอง เพื่อประหยัดค่าจัดส่งได้

เว็บนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการมาอยู่ญี่ปุ่นระยะยาว ที่ต้องการหาเฟอร์นิเจอร์ ของใช้ในบ้านมือสอง เพื่อใช้เพียงไม่กี่เดือนหรือไม่กี่ปี ซึ่งจะได้ราคาที่ถูกกว่าไปซื้อสินค้ามือหนึ่ง (แต่อย่าลืมคำนวณค่าจัดส่งหรือค่ารถไฟเดินทางไปรับของล่ะ)

- tokyo.craigslist.jp (อังกฤษ)

5. AUCFAN

5.	AUCFAN

เว็บนี้จะต่างกับเว็บต่าง ๆ ที่กล่าวมาก่อนหน้าเล็กน้อย เพราะเป็นเว็บไซต์ Search Engine ที่รวมข้อมูลจากเว็บประมูลหลาย ๆ แห่งอีกที ซึ่งทำให้สะดวกต่อการเปรียบเทียบราคาสินค้ามือสองชิ้นเดียวกันจากหลาย ๆ เว็บ โดยที่เว็บจะมีราคาสินค้าที่ประมูลจบไปแล้วขึ้นให้ดูด้วย ทำให้ผู้ซื้อทราบราคาตลาดของสินค้าบางอย่างโดยคร่าวๆ

เว็บนี้เหมาะสำหรับคนที่ต้องการตามหาสินค้าหายากที่ไม่ค่อยมีขายที่ไหนแล้ว และต้องการเช็คข้อมูลหลาย ๆ เว็บในคราวเดียว หรือต้องการเช็คราคาสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ หรือกดประมูล

- aucfan.com (ภาษาญี่ปุ่น)

เป็นยังไงบ้างครับ กับร้านออนไลน์ที่นำมาแนะนำในครั้งนี้
ถ้าใครกังวลว่าสินค้ามือสองจะเป็นสินค้าที่ไม่ดี ขอบอกได้เลยว่า
“สินค้ามือสอง” ส่วนใหญ่ของญี่ปุ่นนั้นจัดว่ามีคุณภาพสูงมากเลยทีเดียว
แต่เพื่อความแน่ใจ ก่อนกดซื้อก็เช็ค RATING ของผู้ขายเพื่อความชัวร์ก่อนก็ดีนะครับ

สำหรับครั้งนี้ก็ขอลากันไปก่อน เจอกันคราวหน้าครับ!

know-before-you-go