All About Japan

10 อาชีพขาดแคลนในประเทศญี่ปุ่น กับโอกาสทำงานของชาวไทย!

รู้ลึกเรื่องญี่ปุ่น ชีวิตในญี่ปุ่น ทำงานในญี่ปุ่น Fukuoka Kyushu
10 อาชีพขาดแคลนในประเทศญี่ปุ่น กับโอกาสทำงานของชาวไทย!

ปัจจุบันยอดแรงงานต่างชาติในญี่ปุ่นยังคงเป็นที่ขาดแคลน ครั้งนี้เราจะพูดถึงอาชีพที่ปรับให้เข้ากับคนไทยในสถานการณ์โควิด (COVID-19) และผ่านการกลั่นกรองภายใต้นโยบายระหว่างที่นายกรัฐมนตรีท่านใหม่คุณฟุมิโอะ คิชิดะ (Fumio Kishida) กำลังขึ้นดำรงตำแหน่งในปัจจุบัน รวมไปถึงจะเล่าเรื่องจากประสบการณ์ตรง และนโยบายในการรับแรงงานต่างชาติด้วย บทความนี้ห้ามพลาด!

เปิดโผ 10 อาชีพขาดแคลนในประเทศญี่ปุ่นกับโอกาสของชาวไทย

1. ล่ามสถานีตำรวจ(タイ語・警察署通訳)

1. ล่ามสถานีตำรวจ(タイ語・警察署通訳)

https://pixta.jp/

แปลกแต่จริงโดยเฉพาะผู้หญิงที่ไปใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่นแล้วเจอสต็อกเกอร์ (Stalker) บ้าง ทำของหายบ้าง อันเป็นเหตุให้โทรหาคุณตำรวจตรงป้อมหรือเดินไปหาที่ป้อมตำรวจ แต่ด้วยความเป็นคนไทยเราก็ดันพูดเก่ง บอกรายละเอียดเก่ง อย่าลืมนะคะ ผู้เข้าเมืองมาผิดกฎหมายหรือกระทำการผิดกฎหมายทุกชาติย่อมมีอยู่แล้ว คนไทยเองก็มีเช่นกันค่ะ คุณตำรวจเห็นความสามารถภาษาเราก็เลยแอบสะกิดเบาๆ "สนใจเป็นล่ามสถานีตำรวจไหม"

เพราะเป็นอาชีพนอกสายตาล่ามแปลด้วยกันด้วยค่ะ คู่แข่งน้อย หากหาผ่านเว็บไซต์ให้สมัครผ่านเว็บไซต์สถานีตำรวจของจังหวัดนั้นในญี่ปุ่นนะ โอกาสได้งานมีสูงสำหรับล่าม Moonlight Yoku เลยอยากแนะนำเป็นอาชีพแรกเลย แต่ต้องอาศัยทักษะความเข้าอกเข้าใจ จิตอาสาอยู่เหมือนกันนะคะอาชีพนี้ เพราะต้องช่วยคุณตำรวจแปลเวลาเกิดเหตุค่ะ หากเป็นไปได้เป็นศิลปะป้องกันตัวคุณตำรวจอาจจะอุทานมาว่า “สุโก้ย!″

2. ล่าม และเจ้าหน้าที่ประจำสถานฑูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่น(通訳・駅員の在東京タイ王国大使館)

2. ล่าม และเจ้าหน้าที่ประจำสถานฑูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่น(通訳・駅員の在東京タイ王国大使館)

https://pixta.jp/

งานหลายคนที่ใครหลายคนอาจจะใฝ่ฝัน เพราะดูมีเกียรติสุดๆ กับงานในสถานทูต แน่นอนว่าการแข่งขันถ้าสมัครในไทยกับในญี่ปุ่นนั้นแตกต่างกันมากเลย บางครั้งทางสถานทูตไทยในญี่ปุ่นมักจะมีประกาศรับสมัครพนักงานอยู่หลายครั้ง ลองดูค่ะ! มีตั้งแต่ระดับเจ้าหน้าที่ประสานงาน ไปจนถึงล่ามประจำสถานฑูตญี่ปุ่นกันเลยทีเดียว

ถ้าอยู่ในไทยแล้วจะสมัครสถานทูตล่ะก็ต้องสอบ ก.พ. ด้วย แต่ที่ญี่ปุ่นไม่ต้องสอบ ก.พ. นะ บางทีเขาจะประชาสัมพันธ์กันผ่าน OJSAT ต้องลองเข้ามาเช็ครายละเอียดข้อมูลบ่อย ๆ ที่หน้าบอร์ดประชาสัมพันธ์ หรือไม่ก็หน้าเฟสบุ๊คแฟนเพจของสถานทูต แต่ส่วนใหญ่แล้วจะรับคนที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นนะคะ

อ่านบทความเต็ม: site.thaiembassy.jp (ภาษาไทย)

3. เกษตรกร(農業)

3. เกษตรกร(農業)

https://pixta.jp/

เพื่อนๆ เชื่อไหมคะว่าเกษตรกรในญี่ปุ่นเนี่ยเป็นอาชีพฮอตในชาวต่างชาติสุดๆ เพราะที่นี่เงินเดือนดีจริงค่ะ แต่เราก็ต้องทำงานให้คุ้มค่ากับเงินเดือนนะ หลายคนอาจจะคิดว่าที่ไทยทำงานร้อน แต่ต้องบอกว่าฤดูร้อนที่ญี่ปุ่นเองก็ไม่ธรรมดาค่ะ ร้อนก็อบอ้าว ลมไม่พัด แถมอุณหภูมิยังพุ่งสูงถึง 40 ℃ ที่ไม่มีลมพัดผ่าน หรือถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวก็อาจต้องทนปลูกผักกันในหิมะอีกด้วย ต้องทนทึกกับอาการมือชาอีก

แล้วที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับ Moonlight Yoku ก็คือทางญี่ปุ่นจะมีหน่วยงานที่ชื่อว่า ASAT(Agriculture Skill Assessment Test; 農業技能測定試験) จัดสอบความสามารถทางเกษตรกรรม ปศุสัตว์ และภาษาญี่ปุ่น ซึ่งจะมีเอกสารให้เราอ่านทำความเข้าใจด้วยนะคะ ตอนสอบ 2 อย่างแรกจะเป็นภาคปฏิบัติ

อย่างไรก็ตามเราต้องมีความรู้ทั้งหมดของการปลูกพืชที่ไม่คุ้นเคยในสภาพแวดล้อมญี่ปุ่นด้วยนะ เพราะเอกสารที่ได้รับมาเป็นภาษาไทยก็จริง แต่เนื้อหาด้านในพูดถึงพืชผลพื้นเมืองญี่ปุ่นหมดเลย (รวมถึงวิธีการปลูกด้วยค่ะ) เช่นเดียวกันกับคู่มือของปศุสัตว์ และในส่วนของภาษาญี่ปุ่นจะมีตัวอย่างให้ฟังในเว็บไซต์ออนไลน์อยู่แล้วค่ะทั้งหมด 58 เทป หากคุณพร้อมมากพอก็ลองกดสมัครสอบได้ที่เมนูข้างบนได้เลยค่ะ!

※ บริเวณที่เปิดรับสมัครงานเกษตรกรส่วนใหญ่ ได้แก่ ภูมิภาคฮอกไกโด (Hokkaido) โทโฮคุ (Tohoku) และจังหวัดฟุกุโอกะ (Fukuoka) ในภูมิภาคคิวชู (Kyushu)

4. ล่ามโรงพยาบาลหรือคลินิก(クリニック・病院に通訳)

4. ล่ามโรงพยาบาลหรือคลินิก(クリニック・病院に通訳)

https://pixta.jp/

คนญี่ปุ่นเป็นคนที่ใส่ใจสุขภาพร่างกายตนเองค่ะ แต่มนุษย์เงินเดือนก็ไม่มีเวลาที่จะออกไปพบคุณหมอได้ง่ายเหมือนกับชาวไทยหรอกนะคะ แล้ววัฒนธรรมของญี่ปุ่นการป่วย 1 ครั้ง ต้องทำการนัดล่วงหน้า อุตสาหกรรมนี้จึงเติบโตค่ะ ชาวต่างชาติที่ไปทำงานต่างถิ่นอย่างที่ญี่ปุ่นเองเมื่อโหมงานหนักขึ้นก็อาจทำให้ป่วยไข้ได้ง่าย จุดนี้เองที่ทำให้สื่อสารกับทางแพทย์และพยาบาลเฉพาะทางได้ยากและลำบาก แล้วไม่ใช่ทุกโรงพยาบาลหรอกนะคะที่จะมีล่ามภาษาให้เรา

หากคุณจินตนาการไม่ออกในนึกถึงเคสห้องฉุกเฉิน ER ประเทศไทยที่มีแรงงานประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาพูดภาษาอะไรไม่รู้วุ่นไปหมดทั้งพยาบาลแล้วก็คนไข้ด้วยกันเอง เพื่อที่พยายามสื่อสารว่าเขาเจ็บส่วนใด นั่นก็คือคุณเช่นกันในที่ญี่ปุ่นค่ะ! หากคนโชคร้ายคือคุณที่เล่นสกีแล้วเกิดอุบัติเหตุ การสื่อสารเอย ค่ารักษาเอย ลำบากทั้งหมดแน่เลยค่ะ

“ล่ามโรงพยาบาลและคลินิก” จึงเป็นอาชีพที่สำคัญมากๆ ที่ถ่ายทอดอาการความเจ็บปวดของผู้ป่วยให้คุณหมอได้รับทราบ แล้วก็บรรยายฟื้นฟูให้จิตใจผู้ป่วยผ่อนคลายลงบ้างจากการนำส่งสารที่สื่อออกมาเบื้องต้น เรียกได้ว่าเป็นอาชีพที่ไม่ง่ายแล้วต้องมีอย่างน้อยจิตวิทยาเบื้องต้น ต้องละเอียดรอบคอบรู้จักซักถามและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

5. เชฟอาหารไทย(タイ料理人)

5. เชฟอาหารไทย(タイ料理人)

https://pixta.jp/

ครัวไทยจะไปครัวโลกเราว่าคำนี้ไม่เกินจริงนะคะ เพราะว่าอาหารไทยก็อร่อยแบบอุมามิแล้วญี่ปุ่นเองก็ชอบรับประทานอาหารที่เป็นดั้งเดิมหรือออริจินัลจากต้นทาง เพียงแต่ว่าหากนำเข้าวัตถุดิบไทยแท้ทั้งหมดน่าจะเสียต้นทุนสูงมากโดยใช่เหตุ หากคุณจะเปิดร้านเองหรือเป็นหุ้นส่วนพ่อครัวในร้าน ก็ควรที่จะบริหารต้นทุนวัตถุดิบให้พอดีกับยุคโควิด (COVID-19) รวมถึงบางเมนูเองถึงเลือกมาต้องให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการรับประทานอาหารเดิมของญี่ปุ่นด้วย

อาทิ คนญี่ปุ่นไม่ทานอาหารรสจัดแต่คนไทยทานอาหารรสจัด เมนูรสจัดจ้านมีสองทางให้เลือกหากต้องการคงอยู่ก็ต้องเลือกระดับความเผ็ดได้ หรือ ไม่ทำเมนูนั้นเลย สังเกตได้จากเมนูที่มาดังในญี่ปุ่นมักเป็นเมนูที่รับประทานง่ายคล่องคอ อย่าง ข้าวมันไก่ ผัดไท แกงมัสมั่น เป็นต้น

หรือคุณเองจะไปสมัครงานเป็นพาร์ทไทม์(ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "อะรุไบโตะ" アルバイト)กับครัวร้านอาหารไทยหรือโรงแรม เรียวกัง (Ryokan) ที่ญี่ปุ่นก็ได้นะ มักจะเปิดรับสมัครพ่อครัวไทยอยู่เรื่อยเลย แค่เสิร์ชคีย์เวิร์ดเป็นภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น แต่แน่นอนว่ามักจะต้องมีพื้นฐานความรู้ขั้นต่ำระดับภาษาญี่ปุ่น JLPT N3 ในการสื่อสารด้วยค่ะ

6. พนักงานร้านอาหาร(飲食店店員)

6. พนักงานร้านอาหาร(飲食店店員)

https://pixta.jp/

งานบริการถึงแม้เป็นพาร์ทไทม์(Part-time Job)ก่อนเลือกที่จะทำต้องถามใจตัวเองก่อนนะคะว่าไหวไหม? ใจเราบริการมากพอไหม? เพราะเราต้องทำงานอุทิศตัวเองในกับการนั้นเลยนะ สำหรับพนักงานร้านอาหารนั้นไม่เพียงแค่ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านคาเฟ่ขนมหวานก็นับค่ะ

ความสามารถที่ควรมีอย่างแรกคือ
1. การกล่าวทักทาย
2.ช่างสังเกต ลูกค้าต้องการอะไร เติมน้ำหรือเช็ดโต๊ะ
3. เราควรมี Mindset ที่ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "โอโมเตะนาชิ" (Omoitenashi) หรือจิตใจบริการแบบญี่ปุ่นค่ะ แบบที่ใส่ใจรายละเอียดเล็กน้อย ไม่ต้องบอกเธอก็รู้ ที่สำคัญระหว่างการทำงานจะมายืนเมาท์มอย หรือจิ้มมือถือแบบร้านอาหารในไทยไม่ได้นะคะ

กิจกรรมรายวันที่คุณต้องทำคือต้องมาเปิดร้าน กางโต๊ะ เช็ดพื้น ล้างจานแก้ว กวาดพื้น อาจชงกาแฟทำขนมและบริการลูกค้าหรือต้อนรับลูกค้าด้วย กระทั่งปิดร้านเก็บโต๊ะยกโต๊ะขึ้น ล้างแก้วจาน แยกขยะ ทิ้งขยะ เป็นแบบนี้ทุกวัน ซึ่งไม่ต่างกันกับงานบริการในร้านอาหารที่ไทยหรอกค่ะแค่สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปกับเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น สามารถดูตัวอย่างอุตสาหกรรมร้านอาหารได้ที่แนบลิ้งค์ข้างล่างนี้ค่ะ

อ่านบทความเต็ม: cookbiz.jp (ภาษาญี่ปุ่น)

7. วิศวกร(エンジニア)

7. วิศวกร(エンジニア)

https://pixta.jp/

วิศวกรที่ได้ใบวิชาชีพวิศวกรรมทุกสาขาเลยค่ะ ขาดแคลน! ส่วนตัว Moonlight Yoku ช่วงหลังมานี้มักเห็นประกาศรับสมัครเป็นวิศวะไฟฟ้า วิศวะอุตสาหการ และวิศวะยานยนต์ แล้วในสาขาที่ไม่มีใบ ก.ว.แต่มีใบจบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ก็สามารถเดินทางไปได้เช่นกันค่ะ

แนะนำอย่างมากในวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งแม้ญี่ปุ่นจะเป็นอันดับต้นของโลกในการคิดค้นคอมพิวเตอร์แต่ว่าเทคโนโลยีช้าเพียงนิดเดียวก็หมุนตามโลกไม่ทันแล้วค่ะ เข้าจึงอยากได้แรงงานต่างชาติบางส่วนมาพัฒนาระบบในส่วนที่เขาอาจมองไม่เห็นหรือพลาดคู่แข่งไป ที่สำคัญรายได้ค่อนข้างดีเลยด้วยนะคะ

8. พนักงานออฟฟิศด้านไอที(IT会社員)

8. พนักงานออฟฟิศด้านไอที(IT会社員)

https://pixta.jp/

ต่อเนื่องจากก่อนหน้านี้ที่เราพูดถึงวิศวะคอมพิวเตอร์ ในกลุ่มพนักงานออฟฟิศด้านไอทีที่ชำนาญการจริงไม่ใช่แค่ในไทยที่ขาด ในญี่ปุ่นก็ขาดแรงงานนี้เช่นกันค่ะ ด้านโปรแกรมเมอร์ผู้พัฒนาระบบ Java Developer, Android Developer, Backend, Data Analytics, Data science เป็นต้น

แม้ก่อนหน้านี้จะมีรายการเป็นวิจัยมาเลยว่ามีการจัดทำเพิ่มสกิลพนักงานด้าน IT ของญี่ปุ่นในแต่ละด้านให้เพิ่มขึ้นเพื่อที่จะก้าวทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่แล้วก็อุดรอยรั่วที่คนในเองก็มองไม่เห็นไม่ได้ค่ะ ทำให้เขาต้องเชิญคนนอกอย่างเราเข้าไปทำงานแทน นับว่าเป็นโอกาสอย่างดีในการทำงานเลยค่ะ

นอกจากนี้หากมองอีกมุมในกลุ่มงานแบบเดียวกับ Moonlight Yoku คือด้านสื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์ก็นับเป็นพนักงานออฟฟิศด้านไอทีเช่นกันค่ะ สำหรับคุณผู้อ่านที่สนใจ ทำไมไม่ลองหาสมัครสักที่ดูล่ะคะ หยิบความชอบมาเป็นแรงผลักดันในการทำงานดูก็อาจจะไปได้สวยเลยก็ได้นะ

9. แรงงานโรงงานอุตสาหกรรม และงานก่อสร้าง(工業員・建設業)

9. แรงงานโรงงานอุตสาหกรรม และงานก่อสร้าง(工業員・建設業)

https://pixta.jp/

เหน็ดเหนื่อยในไทยกับค่าแรงรายวันละ 300 กว่าบาท บางที่ให้ 400 บาทแต่หัก 3% ณ ที่จ่าย แล้วก็หักอีกให้ช้ำใจ หนีไปทำงานเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมโรงงานญี่ปุ่นไหมคะ หรือจะงานก่อสร้างดีคะ

คุณผู้อ่านทราบไหมคะ สองงานที่กล่าวมานี้สวัสดิการและเงินค่าจ้างสูงมากนะคะเพราะถือเป็นอาชีพที่เสี่ยงอันตราย แน่นอนว่าคุ้มค่าที่ต้องเสี่ยงค่ะเพราะมีอัตราเงินเดือนก้าวเพิ่มขึ้นอีกทุกปีด้วยตามที่รัฐบาลประกาศ (ไม่นับอายุงานนะคะ) แม้เราจะเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งปัจจุบันจะเห็นชาวต่างชาติไปทำงานด้านนี้กันเยอะเลยค่ะ

10. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุ (พยาบาลวิชาชีพ) (介護業)

10. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุ (พยาบาลวิชาชีพ) (介護業)

https://pixta.jp/

เหล่าบริบาลหรือพยาบาลวิชาชีพไม่ว่าจะวุฒิจบแบบดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะหรือดูแลคนไข้ล้วนสำคัญอย่างมากกับสถานการณ์ญี่ปุ่นในปัจจุบันที่เป็นไปด้วยสังคมผู้สูงอายุและผู้ใช้วิลแชร์ค่ะ นอกจากนี้บางบ้านยังมีผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตหรือผู้ป่วยติดเตียงรวมถึงเด็กน้อยที่เรียนระบบโฮมสคูล ซึ่งอาจเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพหรือกังวลเรื่องความปลอดภัยในการใช้ชีวิตยุคโควิด ทำให้เป็นนี่โอกาสของเหล่า “ไคโกะ” (Kaigo) หรือพยาบาลดูแลผู้สูงอายุ

พยาบาลวิชาชีพในไทยที่มีวุฒิพร้อมแล้วที่จะบินไปที่ญี่ปุ่นให้เตรียมเอกสารพร้อมสอบภาษาญี่ปุ่นระดับ JLPT N4 ให้พร้อม สิ่งที่ต้องเตรียมตัวเตรียมใจคือการทำงานเป็นกะเวลา จิตอาสาและใจดี มีทักษะการพูดที่สุภาพ เสียงดังได้เพราะผู้สูงอายุบางท่านบกพร่องการได้ยินแต่ขอให้ใจเย็นไว้ก่อน

เนื่องจากไม่ใช่ผู้สูงอายุทุกท่านที่จะต้องรับชาวต่างชาติ แต่เพราะลูกหลานจ้างมาให้ดูแล (อาจพูดได้ว่ามีทิฐิกับต่างชาติก็ได้ค่ะ) หากโดนกระทำไม่เหมาะสม สามารถแจ้งกรมแรงงานที่อยู่ที่นั่นและขอย้ายที่ทำงานทันทีค่ะ!

นโยบายการรับแรงงานต่างประเทศเนื่องจากปัญหาขาดแคลนแรงงาน

นโยบายการรับแรงงานต่างประเทศเนื่องจากปัญหาขาดแคลนแรงงาน

https://pixta.jp/

เป็นอย่างไรบ้างคะกับ 10 อาชีพที่เราได้นำเสนอในครั้งนี้ ก่อนอื่นต้องกล่าวว่าตามแหล่งข่าวที่ได้รับมานั้น ท่านนายกฟุมิโอะ คิชิดะ (Fumio Kishida) ได้สานต่อนโยบายการรับแรงงานต่างประเทศเพิ่มเติมจากนายกคนเก่า ซึ่งก็คือ คุณชินโซะ อาเบะ (Shinzo Abe) และ โยชิฮิเดะ ซูงะ (Suga Yoshihide) (เพิ่งยุบสภา) โดยประเทศไทยเองเป็น 1 ใน 15 ประเทศที่เข้าเกณฑ์ แบ่งเป็นอุตสาหกรรมกลุ่ม 14 อาชีพ (ไม่เรียงตามจำนวนที่เปิดมากหรือน้อย) ได้แก่

・ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุ (พยาบาลวิชาชีพ) (介護業)
・กลุ่มพนักงานทำความสะอาด (ビルクリーニング業)
・กลุ่มอุตสาหกรรมช่างเทคนิค (ช่างเชื่อมเหล็ก)(素形材産業)
・กลุ่มอุตสาหกรรมช่างหรือพนักงานการผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรม(産業機械製造業)
・กลุ่มอุตสาหกรรมพนักงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์(電気・電子情報関連産業)
・กลุ่มแรงงานก่อสร้าง(建設業)
・กลุ่มแรงงานต่อเรือและการเดินเรือทะเล(造船・舶用工業) ในที่นี้เป็นเรือขนส่งสินค้า ต่อเรือขนน้ำมัน ฯลฯ
・กลุ่มอุตสาหกรรมช่างบำรุงรักษารถยนต์(自動車整備業)ถึงแม้ว่าญี่ปุ่นจะเป็นหนึ่งที่สมองผลิตรถยนต์โลก แต่ในญี่ปุ่นจะเน้นเป็นการบำรุงรักษารถมากกว่าการสร้างสินค้าล็อตใหม่ในอุตสาหกรรมรถยนต์
・กลุ่มพนักงานในอุตสาหกรรมการบิน(航空業)** คาดว่าตัวเลขนี้ในความเป็นจริงแล้วการรับจริงลดลงเนื่องจากสถานการณ์โควิด **
・กลุ่มพนักงานในธุรกิจโรงแรมหรือที่พัก(宿泊業)
・กลุ่มแรงงานอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม(飲食料品製造業)
・กลุ่มพนักงานบริการในร้านอาหาร(外食業)
・กลุ่มเกษตรกรรม(農業)
・กลุ่มแรงงานประมง(漁業)

ข้อมูลอ้างอิงจาก : https://www.nli-research.co.jp/files/topics/65051_ext_18_0.pdf?site=nli

การสอบเพื่อเข้ามาทำงานในประเทศญี่ปุ่น

ปัจจุบันนโยบายการรับแรงงานต่างชาตินั้นมีความแตกต่างกัน 2 เรื่องหลัก คือ แรงงานมีฝีมือ และ การย้ายถิ่นฐาน ในข้อหลังนี้ต้องคุยจริงจังมากค่ะ มีการดีเบทกันในพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democratic Party; LDP) กันเลยทีเดียว เพราะเขากลัวการย้ายถิ่นฐานจนกระทบคนในชาติพอสมควร แต่แท้จริงแล้วมีข้อกฎหมายกำหนดเรื่องผู้ติดตามและครอบครัวของแต่ละกลุ่มสาขาอาชีพ แต่ละรายชื่อประเทศด้วยค่ะ รวมไปถึงควบคุมกฎหมายมีบุตรกับต่างชาติ การแต่งงาน เป็นต้น

โดยปกติแล้วกฎหมายย่อมต้องรักษาความเป็นประโยชน์ต่อคนในประเทศค่ะ เช่นกันจากที่กล่าวชาวญี่ปุ่นเขาเป็นกังวลถึงการแต่งงานปลอมย้ายสัญชาติ ย้ายถิ่นฐานไปประเทศเขาค่ะ ภายหลังนายกคิชิดะจึงพยายามตั้งมาตรการที่จะจัดการกับการรับชาวต่างชาติ หรือที่เรียกว่า “ไกโคคุจิน” (Gaikokujin)

ข้อมูลอ้างอิงจาก : https://www.nli-research.co.jp/files/topics/69740_ext_18_0.pdf?site=nli

ส่วนในประเด็นแรงงานมีฝีมือต้องมีใบสอบวัดระดับภาษาก่อนเข้ามา ไม่ว่าจะเป็น JLPT, JFT, ใบสอบวิชาชีพของสายอาชีพแต่ละด้าน เช่น วิศวกรรม หรือ พยาบาล เป็นต้น แม้เราข้ามประเทศไปแล้วต้องไปวัดระดับภาษาอีกครั้งก็ต้องมีเอกสารยืนยันตัวตนชัดเจนค่ะ

หรือกรณีที่คุณประกาศตัวเป็นแรงงานใช้แรง ที่ไม่เน้นเน้นใช้ความสามารถ (แรงงานไร้ฝีมือ) อย่างน้อยคุณก็ต้องสื่อสารภาษาญี่ปุ่นระดับ JLPT N4 ได้หรืออาจจะสื่อสารภาษาญี่ปุ่นไม่ได้เลยแต่ใช้ภาษาอังกฤษ (TOEIC) ก็ต้องแจ้งเอกสารให้ชัดเจนเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในญี่ปุ่น แม้คุณจะมาทำงานสวนเกษตรที่ฮอกไกโดก็ตามแต่ก็ต้องทำตามกฏกติกานะคะ

ในส่วนของรายละเอียดแรงงานไทยสามารถดูไทยที่
https://japan.mol.go.th/situation/trends-and-opportunities-of-thai-workers

รายชื่อบทความที่เกี่ยวข้อง
ทำอย่างไรถึงจะได้ไปอยู่ญี่ปุ่นอย่างถาวร
เงินเดือนญี่ปุ่น ค่าครองชีพ และเงินเก็บ
เงินเดือนที่ญี่ปุ่น (แบ่งตามอาชีพ)
เปรียบเทียบการทำงาน บ.ไทย กับ บ.ญี่ปุ่นในไทย

ผู้เขียน: Moonlight Yoku
นักเขียนสกิลเป็ดเอกบริหารธุรกิจญี่ปุ่น ที่ตอนเด็กมีความฝันอยากไปเที่ยวญี่ปุ่นจนกระทั่งปัจจุบันเรียนเอกนี้เต็มตัว ชอบอาหารญี่ปุ่นมากๆ ฉะนั้นจะสนใจที่กินที่เที่ยวเป็นพิเศษ Hokkaido Lover❤️

know-before-you-go