ดีไซเนอร์ต้องอ่าน! หารูปถูกลิขสิทธิ์แบบญี่ปุ่น
ใครที่เป็นดีไซเนอร์ นักเขียน นักทำเว็บคงรู้อยู่แล้วว่าการหาภาพที่ถูกลิขสิทธิ์ (และสวย) นั้นไม่ใช่งานง่าย และคงรู้อยู่แล้วว่าญี่ปุ่นนั้นเคร่งกับเรื่องพวกนี้มาก แม่บ้านเมกุโระในฐานะที่ทำงานกราฟฟิกดีไซน์เนอร์มาก่อนจะผันตัวเป็นแม่บ้านเต็มตัว จะมาขอแนะนำการหารูปถูกลิขสิทธิ์แบบญี่ปุ่นมาใช้ดูนะคะ ดีไซเนอร์ นักเขียน นักสร้างคอนเทนท์ห้ามพลาด !
By แม่บ้านเมกุโระCreative Commons (クリエイティブ・コモンズ)
ก่อนที่เราจะรู้แหล่งดาวน์โหลดภาพมาใช้อย่างไม่ผิดลิขสิทธิ์ เรามารู้จักกับครีเอทีฟคอมมอนส์กันก่อนค่ะ Creative Commons (クリエイティブ・コモンズ) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า CC เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ก่อตั้งโดยลอว์เรนซ์ เลสสิก (Lawrence Lessig) เป้าหมายคือการสนับสนุนให้มีการใช้เนื้อหาโดยไม่ถูกจำกัดสัญญาอนุญาต หมายถึงสามารถใช้ภาพ เสียง วีดีโอ หรือข้อมูลจากผู้ผลิตเนื้อหาโดยมีหรือไม่มีเงื่อนไขได้ โดยประเภทหลักๆแบ่งเป็น 4 เงื่อนไขใหญ่ๆ คือ
• สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ แต่ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา (Attribution/表示/BY)
• สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ แต่ห้ามดัดแปลง (No Derivative Works/改変禁止/ND)
• สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ แต่ห้ามนำไปใช้เชิงพานิชย์ (Non-commercial/非営利/NC)
• สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ งานที่ถูกแก้ไขต้องขออนุญาตจากรูปออริจินัล (Share-alike/継承/SA)
โดยเงื่อนไขข้างต้นสามารถนำใช้แบบเดี่ยว คู่ หรือแบบกลุ่มก็ได้แล้วแต่เจ้าของข้อมูล และเงื่อนไขอื่น ๆ คือไม่มีเงื่อนไขใดเลย สามารถนำข้อมูลไปใช้และเผยแพร่ได้ตามใจชอบ อาจจะดูงง ๆ และเข้าใจยาก แต่ถ้าเข้าใจจะเป็นประโยชน์อย่างแน่นอนค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ทำงานสายครีเอทีฟ ไม่ว่าจะเป็นดีไซเนอร์ อาร์ตไดเรกเตอร์ และนักสร้างคอนเทนท์ต่างๆ
Google พ่อทุกสถาบัน
วิธีแรกและวิธีง่ายที่สุดก็คงเป็นการค้นรูปภาพโดยใช้เครื่องมือตัวกรองภาพลิขสิทธิ์อย่างคร่าว ๆ Google มักจะนิยมใช้ในกรณีที่ต้องการใช้ภาพที่ค่อนข้างเฉพาะทาง หรือค้นหาใน Photo Stock แล้วไม่เจอก็สามารถค้นหาทาง Google ได้ค่ะ ตามขั้นตอนด้านล่าง
1 ) เปิดเว็บไซต์ Google
2 ) ใส่คีย์เวิร์ดที่ต้องการค้นหา
3 ) คลิกเลือกรูปภาพ (Images / 画像)
4 ) เลือกเมนู เครื่องมือ (Tool / ツール)
5 ) เลือกเมนู สิทธิ์ในการใช้งาน (Usage rights / ライセンス)
6 ) เลือกประเภทภาพที่ต้องการใช้งาน
โดยประเภทหลักๆมีสี่อย่าง
• ติดป้ายกำกับว่าสามารถใช้ซ้ำและแก้ไขได้ (Labeled for reuse with modification / 改変後の再使用が許可された画像)
• ติดป้ายกำกับว่าสามารถใช้ซ้ำ (Labeled for reuse / 再使用が許可された画像)
• ติดป้ายกำกับว่าสามารถใช้ซ้ำในงานที่ไม่ใช่เชิงพานิชย์และแก้ไขได้ (Labeled for noncommercial reuse with modification / 改変後の非営利目的での再使用が許可された画像)
• ติดป้ายกำกับว่าสามารถใช้ซ้ำในงานที่ไม่ใช่เชิงพานิชย์ (Labeled for noncommercial reuse 非営利目的での再使用が許可された画像)
แต่ประเภทที่เราจะใช้จริงๆ จากในสี่อย่างนี้มีแค่ไม่กี่ตัว
ประเภทที่อนุญาติให้ใช้ซ้ำได้อย่างกว้างที่สุดก็คือ ติดป้ายกำกับว่าสามารถใช้ซ้ำและแก้ไขได้ เพราะสามารถใช้ซ้ำได้ ดัดแปลงแก้ไขได้ และไม่ห้ามใช้งานในเชิงพาณิชย์
แต่ถ้าไม่เอาภาพไปแก้ไขปรับปรุงหรือโฟโต้ช้อปเพิ่มเติม นำมาใช้ทั้งยังงั้นเลยก็แนะนำ ติดป้ายกำกับว่าสามารถใช้ซ้ำ เฉยๆ ก็จะมีภาพให้เลือกเยอะกว่า สำหรับนักเขียนทความที่ต้องการภาพประกอบเฉยๆแบบนี้สะดวกที่สุดค่ะ (แต่ก็อย่าลืมให้เครดิตด้วยการนำ Link มาใส่ในช่องเครดิตด้วยนะ)
Photo Stock ฟรีและดีมีในโลก
ปัจจุบันการหารูปมาใช้นั้นสะดวกมาก เพียงค้นหาบนอินเตอร์เน็ตก็สามารถเจอรูปภาพที่ต้องการโดยไม่ต้องดั้นด้นออกไปถ่ายรูปด้วยตนเอง และมีเว็บไซต์มากมายให้ดาวน์โหลด ทั้งแบบเสียเงินและแบบให้ใช้งานได้ฟรี
เว็บไซต์แนะนำที่มีภาพแบบ CC ให้ดาวน์โหลดมาใช้ได้
flickr.com มีภาพจากคนญี่ปุ่นเยอะมาก
freerangestock.com
unsplash.com
pexels.com
การเลือกใช้ภาพควรมีความระมัดระวัง เช็คหรือตรวจสอบเสมอว่าภาพที่นำมาใช้ถูกลิขสิทธิ์หรือได้รับการยินยอมจากเจ้าของภาพ มิเช่นนั้นจะถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายราคาสูงได้ง่าย ๆ นะจ้ะ อย่าคิดว่าเจ้าของภาพคงจะไม่เห็น เดี๋ยวนี้อินเตอร์เน็ตเชื่อมโยงถึงกันทุกที่ จึงเกิดคดีฟ้องร้องมากมายเพิ่มขึ้นทุกประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วยค่ะ
จุดที่ควรระวัง
สมัยนี้หลายเว็บไซต์มีการให้ดาวน์โหลดภาพจากบนเว็บมาใช้ได้ บางท่ี่มีปุ่มสำหรับดาวน์โหลดแบบง่ายๆ แต่รูปภาพบางส่วนที่นำมาให้ดาวน์โหลดอาจจะไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของภาพตัวจริง แต่ถูกผู้ใช้เว็บไซต์นั้นๆ นำมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาติเพื่อเพิ่มยอดคนเข้าเว็บไซต์ของตัวเอง เป็นต้น และถ้าเรานำภาพมาใช้ต่ออีกทอดก็นับว่าผิดลิขสิทธิ์ด้วย
แหล่งที่หลายคนเอาภาพมาบ่อย ๆ ก็อย่างเช่นเว็บรวมบล็อกเกอร์ทั้งหลายอย่างพันทิพ Wordpress, Blogger, Livedoor, Ameblo เป็นต้น เพราะเว็บเหล่านี้มีบล็อกเกอร์ร้อยพ่อพันแม่มาใช้ หลายเพจอาจเอาภาพที่ไม่ได้ขออนุญาติมาลงในบล็อกของตัวเองค่ะ
การเลือกใช้ภาพควรมีความระมัดระวัง เช็คหรือตรวจสอบเสมอว่าภาพที่นำมาใช้ถูกลิขสิทธิ์หรือได้รับการยินยอมจากเจ้าของภาพ มิเช่นนั้นจะถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายราคาสูงได้ง่าย ๆ นะจ้ะ (อย่าคิดว่าเจ้าของภาพคงจะไม่เห็น เดี๋ยวนี้อินเตอร์เน็ตเชื่อมโยงถึงกันทุกที่ จึงเกิดคดีฟ้องร้องมากมายเพิ่มขึ้นทุกประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วยค่ะ)
มาเป็นตากล้องกันเถอะ
แน่นอนว่าวิธีที่ต้องออกไปลงมือลงแรงด้วยตนเองย่อมเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดจากการละเมิดลิขสิทธิ์แบบไม่ตั้งใจ และได้ภาพที่ตรงตามความต้องการที่สุดอีกด้วย นอกจากเทคโนโลยีของกล้องที่ก้าวล้ำไปไกลมากแล้ว มือถือหรือสมาร์ทโฟนเดี๋ยวนี้ก็สามารถถ่ายภาพได้สวยไม่แพ้กล้อง DSLR เลยทีเดียว แถมมีแอพพลิเคชั่นแต่งภาพบนมือถือมากมายให้ดาวน์โหลดมาใช้แบบฟรี ๆ ง่ายและสะดวกสบายขนาดนี้ออกไปขยับแข้งขยับขาเดินถ่ายรูปก็เป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งนะคะ หรือจะย้อนวัยกลับไปวินเทจใช้กล้องฟิล์มราคาไม่แพงแถมคลาสสิคซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในญี่ปุ่นตอนนี้ ออกไปหาแรงบันดาลใจเป็นตากล้องมือสมัครเล่นกันค่ะ