All About Japan

ไปว่ายน้ำหน้าหนาวกันเถอะ!

ที่พัก กีฬา ชีวิตในญี่ปุ่น เลี้ยงลูกแบบญี่ปุ่น

อยากว่ายน้ำ? ช่วงหน้าหนาวปลายปีเนี่ยนะ? มามะเดี๋ยวพาไป :D วันนี้แม่บ้านเมกุโระมาขอเล่าประสบการณ์การใช้บริการสระว่ายน้ำในญี่ปุ่นกันว่าเอ็กซ์ตรีมกว่าในไทยอย่างไร?

1 ) สระว่ายน้ำในร่ม

1 ) สระว่ายน้ำในร่ม

สระว่ายน้ำญี่ปุ่นเกือบทั้งหมดสร้างในร่ม เป็นพื้นที่ปิด มีหลังคา มีกำแพงล้อมรอบ หรือบางที่อาจจะมีโซนที่เหมือนประตูขนาดใหญ่สามารถเลื่อนเพื่อเปิดปิดได้ นั่นเพราะสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดปีในประเทศญี่ปุ่นที่มีสี่ฤดู อุณหภูมิช่วงหน้าร้อนกับหน้าหนาวต่างกันมากๆ การทำเป็นสระว่ายน้ำในร่มทำให้สระว่ายน้ำสามารถใช้งานได้ตลอดปี

สระว่ายน้ำญี่ปุ่นแตกต่างจากไทยอีกอย่างคือนิยมทำความลึกเดียวตลอดสระ เช่น สระลึก 1.2 เมตร ทั้งสระก็จะลึกแค่ 1.2 เมตร ไม่ได้มีส่วนลึกมากลึกน้อย หรือทำเป็นทางลาดแบบไทย สระที่มีระดับความลึกแตกต่างกันมักจะเป็นสระเฉพาะทาง

2 ) ว่ายน้ำหน้าหนาว? เป็นไปได้จ้ะ

2 ) ว่ายน้ำหน้าหนาว? เป็นไปได้จ้ะ

เนื่องจากสระว่ายน้ำแบบในร่มเป็นพื้นที่ปิด ทำให้สามารถควบคุมอุญหภูมิได้ ภายในโดมจะมีการปรับอุญหภูมิให้อบอุ่นอยู่เสมอ และสระว่ายน้ำที่ญี่ปุ่นก็ปรับอุญหภูมิน้ำให้เหมาะสมกับการว่ายน้ำได้ด้วย นับเป็นนวัฒกรรมที่ดีงามมาก

3 ) ทำอย่างไรไม่ให้มีเรื่องกับผู้คุมสระ ภาค 1 แต่งกายให้เหมาะสม

3 ) ทำอย่างไรไม่ให้มีเรื่องกับผู้คุมสระ ภาค 1 แต่งกายให้เหมาะสม

อย่างที่คนไทยรู้กัน คนญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่เคร่งครัดกับกฎระเบียบมาก การไปว่ายน้ำก็ต้องเป๊ะมากเช่นกัน นั่นคือใส่ชุดว่ายน้ำให้เหมาะสม คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่นิยมใส่แบบวันพีชหรือชิ้นเดียว อาจจะเพราะอายที่ต้องโชว์พุง ดังนั้นถ้าใส่ทูพีชไปจะถูกคนทั้งสระมองไม่ใช่เรื่องแปลก ส่วนหมวกว่ายน้ำก็ต้องพร้อม (ไม่มีลงสระไม่ได้นะ) แหวน ต่างหู เครื่องประดับทุกอย่างห้ามใส่ลงน้ำ และที่สำคัญคือต้องปกปิดรอยสัก ในกรณีที่มีรอยสักเล็ก ๆ ใช้พลาสเตอร์กันน้ำสีเนื้อ แต่กรณีสักทั้งหลังต้องใส่เสื้อปิดค่ะ ถ้าสักทั้งตัวก็ใส่บอดี้สูทโลด!

4 ) ทำอย่างไรไม่ให้มีเรื่องกับผู้คุมสระ ภาค 2 ว่ายสะเปะสะปะไม่ได้นะคุณ

4 ) ทำอย่างไรไม่ให้มีเรื่องกับผู้คุมสระ ภาค 2 ว่ายสะเปะสะปะไม่ได้นะคุณ

การว่ายน้ำในไทยเราคงจะเคยชินกับการว่ายไปรอบ ๆ สระอย่างอิสระเสรี แต่ที่ญี่ปุ่นถ้าคุณทำแบบนั้นคุณจะโดนเจ้าหน้าที่หรือไลฟ์การ์ดเป่านกหวีดทันที (OwO) สระว่ายน้ำที่ญี่ปุ่นจะนิยมแบ่งเลนว่ายน้ำโดยใช้ตุ้มลอยน้ำติดเป็นแนวยาวขนานไปกับตัวสระ วิธีการคือ ต้องสังเกตป้ายบนสระที่ปลายเลนว่าเลนนี้อนุญาตให้ว่ายไป - กลับสวนกันได้ เลนที่ว่ายได้ทางเดียวเท่านั้น (จะว่ายน้ำกลับต้องเปลี่ยนเลน ว่ายเร็วชิดซ้าย ว่ายช้าชิดขวา) แล้วก็มีเลนแบบอื่นๆ เช่นเลนที่ไว้สำหรับเดินออกกำลังกาย หรือฟรีเลน จะเล่น ฝึกว่ายน้ำ หรือตีขา เชิญที่เลนนี้ค่ะ

อธิบายรูป
เลนฟรี - เลนสำหรับหัดว่ายน้ำ เล่นน้ำ
เลนว่ายน้ำ - เลนสำหรับว่ายน้ำเท่านั้น บางที่ว่ายไปกลับในเลนเดียว บางที่ไปกลับสลับเลน
เลนเดิน - เลนสำหรับเดินออกกำลังกายเท่านั้น

5 ) เช็คความเรียบร้อยและความปลอดภัยทุกชั่วโมง

5 ) เช็คความเรียบร้อยและความปลอดภัยทุกชั่วโมง

ถ้าคุณเห็นผู้คุมสระเดินไปเดินมารอบมุมสระชี้โบ๊ชี้เบ๊ เอาอุปกรณ์ไปจุ่มในน้ำหรือนำแก้วตักน้ำในสระไปก็ไม่ต้องตกใจนะคะ เป็นการตรวจตราและเช็คสภาพน้ำในสระค่ะ ว่ามีอะไรผิดปรกติไปหรือไม่ และสระว่ายน้ำของโรงเรียนส่วนใหญ่จะมีการเป่าปรี๊ดประกาศให้ผู้ใช้บริการขึ้นจากสระ 5 - 10 นาที เพื่อให้ผู้คุมสระตรวจเช็คสิ่งผิดปรกติ หรือกวาดขยะในสระอย่างพลาสเตอร์ปิดแผล เมื่อตรวจตราทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยก็จะเชิญกลับลงไปว่ายน้ำได้ปรกติค่ะ ช่างเป็นมาตรการการรักษาความปลอดภัยที่ดูเยอะจริง ๆ (=w =“)

6 ) คนญี่ปุ่นเกือบทั้งหมดว่ายน้ำเป็นนะจ๊ะ

6 ) คนญี่ปุ่นเกือบทั้งหมดว่ายน้ำเป็นนะจ๊ะ

เนื่องด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นเกาะที่มีทะเลล้อมรอบหรือเปล่า ไม่น่าจะเกี่ยวนะ

เหตุผลที่จริงแล้วคือทุกโรงเรียนในญี่ปุ่นจะมีหนึ่งในหลักสูตรภาคบังคับ นั่นก็คือการว่ายน้ำ โดยปรกติเด็กญี่ปุ่นจะเริ่มเรียนกันตั้งแต่ประถมศึกษาที่ 1 ซึ่งถึงแม้ว่าทางโรงเรียนจะไม่มีสระว่ายน้ำเป็นของตนเองนั้นก็ไม่ใช่ปัญหา เมื่อถึงวันที่มีเรียนว่ายน้ำเหล่าคุณครูจะให้เด็กน้อยเดินต่อแถวดุ้กดิ้กๆ ไปยังสระว่ายน้ำที่ใกล้โรงเรียนที่สุด ซึ่งต่างจากประเทศไทย โรงเรียนที่มีการสอนว่ายน้ำในหลักสูตรมักจะเป็นโรงเรียนเอกชนซึ่งมีสระว่ายน้ำในโรงเรียนอยู่แล้ว ดังนั้นการไปสระว่ายน้ำที่ญี่ปุ่นควรเช็คตารางเวลาก่อนไปทุกครั้ง เพราะเมื่อมีชั่วโมงเรียนของโรงเรียน ทางสระจะปิดหรือไม่อนุญาตให้คนภายนอกใช้สระว่ายน้ำ (และก็ไปเก้อทุกที)

การเรียนพิเศษว่ายน้ำที่นี่ก็มีนะคะ แต่ส่วนใหญ่เป็นเพราะเด็กเรียนตามเพื่อน ๆ ไม่ทัน หรือว่ายช้า ผู้ปกครองก็จะให้เด็กมาเรียนพิเศษกับคุณครูค่ะ เพื่อให้ว่ายตามเพื่อนในห้องให้ทัน ถามว่าทำไมพ่อแม่ถึงรู้ว่าลูกว่ายน้ำไม่แข็ง หรือไม่ทันเพื่อน ๆ เพราะเมื่อถึงชั่วโมงว่ายน้ำ ทางโรงเรียนจะอนุญาตให้ผู้ปกครองมานั่งชมลูกว่ายน้ำได้ค่ะ เพื่อดูพัฒนาการและความแข็งแรงของลูกค่ะ พอว่ายเสร็จก็รับกลับบ้านเลย

7 ) สิ่งอำนวยความสะดวกที่แสนจะครบครัน

7 ) สิ่งอำนวยความสะดวกที่แสนจะครบครัน

นอกจากอุปกรณ์ฝึกหัดว่ายน้ำทั้งหลายแหล่สำหรับเด็กแล้ว ในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าก็มีล็อกเกอร์สำหรับเด็ก รองเท้า และที่เก็บของที่แสนจะสะดวกสบาย ส่วนใหญ่จะเป็นล็อกเกอร์ที่มีกุญแจเป็นสายรัดข้อมือคล้ายๆกับนาฬิกาข้อมือให้พกกุญแจไปด้วยได้ตลอดเวลา จะใส่ที่ข้อมือหรือข้อเท้าก็สะดวก ไม่หลุดไปไหนระหว่างว่ายน้ำแน่นอน

ในห้องพักส่วนใหญ่จะมีเครื่องชั่งน้ำหนัก ไดร์เป่าผม เครื่องปั่นผ้าให้แห้ง วางไว้ให้บริการเป็นมาตรฐานอีกด้วย แต่บางที่ที่ๆดีหน่อยหรือเป็นฟิตเนสของเอกชนก็จะมีสารพัดสิ่งอำนวยความสะดวก อย่างสบู่และยาสระผม ตู้กดน้ำเย็น ที่วัดความดัน ซาวน่า รวมไปถึงออนเซ็นจากุซซี่ (การได้แช่น้ำร้อนหลังออกกำลังกายเป็นอะไรที่ดีงามในสามโลก)

สิ่งหนึ่งที่อยากทิ้งท้ายเอาไว้ การเปลี่ยนชุดหรือแต่งตัวในสระว่ายน้ำเหมือนกับในออนเซ็นค่ะ คือเปลี่ยนตรงหน้าล็อคเกอร์นั่นเลย สำหรับคนไทยอาจจะรู้สึกเขินอาย แต่คนญี่ปุ่นถือว่าการเห็นเพศเดียวกันโป๊เป็นเรื่องปรกติค่ะ ถ้าต้องเข้าออนเซ็นหรือสระว่ายน้ำก็ทำใจไว้ก่อนนะคะ :D

ตู้ซื้อบัตรว่ายน้ำหยอดเหรียญ มีราคาสำหรับผู้ใหญ่ เด็ก และผู้สูงอายุ (ราคาเด็กกับผู้สูงอายุจะถูกกว่าจ้ะ) บางที่มีให้เช่าผ้าเช็ดตัว หมวกว่ายน้ำ และอื่นๆด้วย โดยวิธีการก็คือหยอดเงิน เลือก และนำบัตรไปให้ผู้ดูแลที่ทางเข้าจ้ะ สะดวกสบายไม่ต้องไปอธิบายที่หน้าเค้าท์เตอร์

know-before-you-go